1 คนสงสัย
ข่าวปลอม !! ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5 พัน
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยกรณีการแชร์และส่งต่อข้อมูล “รัฐฯ ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี จำนวน 5,000 บาท ภายในเดือนมิถุนายนนี้” ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand : AFNC) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว และกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้ชี้แจงข้อมูลดังกล่าวว่า “เป็นข้อมูลเท็จ” โดยยืนยันว่ากระทรวงการคลังไม่มีนโยบายโอนเงินหรือแจกเงิน 5,000 บาทเข้าบัญชีในเดือนมิถุนายนนี้

“เป็นข่าวปลอมจากผู้ไม่หวังดี ขอประชาชนอย่าได้หลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว โดยประชาชนสามารถตรวจสอบและรับข้อมูลข่าวสารจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ที่เว็บไซต์ www.cgd.go.th หรือโทร 02 127 7000 หรือผ่านทางแฟนเพจ กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department ขอความร่วมมือประชาชนอย่าส่งต่อหรือแชร์ข้อมูลอันเป็นเท็จในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ อีก เพื่อป้องกันความสับสนและความเข้าใจผิดขยายไปในวงกว้างเพิ่มขึ้น” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว


นายอนุชา กล่าวว่า เมื่อประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารใด ๆ มา หากมีความสงสัยหรือไม่แน่ใจในข้อมูลเหล่านั้น ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและความถูกต้องจากหน่วยงานเจ้าของเรื่องหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเผยแพร่ หรือแชร์ข้อมูลออกไปให้บุคคลอื่น เพราะหากแชร์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนอกจากจะก่อให้เกิดความสับสน และอาจนำไปสู่การหลอกลวงสร้างความเสียหายแก่ประชาชนได้แล้ว ยังผิดกฎหมายด้วย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมระบุกรณีพฤติกรรมการกด Like และกด Share ของผู้ที่เล่นโซเชียลมีเดียหรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ควรรอบคอบ โดยเฉพาะการกดแชร์ ถือเป็นการเผยแพร่ หากการแชร์ข้อมูลนั้นไปกระทบกับบุคคลอื่น อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.-สำนักข่าวไทย
ดลยา ซื่อตรง เลขที่36
 •  2 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 2 คนสงสัย
    รัฐทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท ในเดือนนี้
    โฆษกรัฐบาล เตือน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม หลังข้อความว่อนโซเชียล “รัฐฯ ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท ภายในเดือน มิ.ย.นี้” วอนหยุดแชร์ ป้องกันความสับสนและเข้าใจผิดขยายวงกว้าง วันที่ 8 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีการแชร์และส่งต่อข้อมูล “รัฐฯ ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี จำนวน 5,000 บาท ภายในเดือนมิถุนายนนี้” ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand : AFNC) ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ออกมาชี้แจงข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ
    std46298
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    รัฐเตรีมแจก1000เพื่อช่วยเหลือประชาชน
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ รัฐฯ เตรียมโอนเงิน 1,000 ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง . ตามที่มีการส่งต่อข้อความในประเด็นเรื่องรัฐฯ เตรียมโอนเงิน 1,000 ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . กรณีที่มีส่งต่อเรื่องราวโดยระบุว่า รัฐฯ เตรียมโอนเงินช่วยเหลือคนละ 1,000 บาท สำหรับกลุ่มเปราะบาง เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ โอนให้พร้อมกันทั่วประเทศ 9 มิ.ย. 66 นี้ ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า เป็นข่าวสารที่เชื่อถือไม่ได้ และไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายดังที่ในคลิปวิดีโอกล่าวถึงแต่อย่างใด . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.mof.go.th หรือโทร. 1689 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายดังที่ในคลิปวิดีโอกล่าวถึงแต่อย่างใด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวนโยบายรัฐ #รัฐแจกเงิน #แจกเงิน1000บาท #โอนเงินสด
    std48123
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ มีแกงค์ชาวแอฟริกันหลอกเงินผู้หญิงไทยให้โอนเงินเข้าบัญชี ตอนนี้ถูกจับกุมตัวได้แล้ว
    ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับขบวนการเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์ชาวแอฟริกัน 3 คน ที่เดินทางเข้ามาพักอยู่ในประเทศไทย แล้วมีพฤติการณ์ใช้สื่อสังคมออนไลน์หลอกลวงผู้เสียหายชาวไทยด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น หลอกให้ลงทุน หลอกว่าจะใช้ชีวิตร่วมกันโดยส่งทรัพย์สินราคาแพงให้และให้ผู้เสียหายโอนเงินไปเพื่อรับทรัพย์สิน มีผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินสูญเงินตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักล้านบาท
    naydoitall
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เตือนภัย ผู้ประกันตน "อย่าหลงเชื่อแก๊งมิจฉาชีพ" แอบอ้างสำนักงานประกันสังคม หลอกโอนเงินเข้าบัญชี
    ขณะนี้พบพวกมิจฉาชีพได้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม โทรศัพท์แจ้งผู้ประกันตนให้คืนเงินเกินสิทธิที่สำนักงานประกันสังคมได้โอนเข้าบัญชีผู้ประกันตน โดยบอกหมายเลขบัญชี 4 ตัวท้ายที่โอนเกิน และแจ้งเลขบัญชีให้ผู้ประกันตนโอนเงินกลับคืน ซึ่งถ้าไม่เชื่อให้ติดต่อไปยังสถานีตำรวจ โดยแอบอ้างเบอร์โทรศัพท์ปลอม
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ระบุว่าผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม จะได้รับเบี้ยพิเศษรายปีคนละ 1,000 บาท เพิ่มเติมจากที่ได้รับเบี้ยยังชีพรายเดือนนั้น
    น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ระบุว่าผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม จะได้รับเบี้ยพิเศษรายปีคนละ 1,000 บาท เพิ่มเติมจากที่ได้รับเบี้ยยังชีพรายเดือนนั้น ไม่เป็นความจริง การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม “ขอความร่วมมือประชาชน ไม่ส่งต่อข้อมูลดังกล่าว เพราะจะทำให้เกิดความสับสน” น.ส.ไตรศุลี ระบุ โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยืนยันว่า ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุยังคงเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเฉพาะการจ่ายเบี้ยยังชีพรายเดือน ไม่มีการจ่ายเบี้ยพิเศษรายปีคนละ 1,000 บาท สำหรับการจ่ายเบี้ยยังชีพรายเดือน จะจ่ายแก่ผู้สูงอายุแต่ละช่วงอายุ เพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดใน 4 ช่วง ได้แก่ – อายุ 60-69 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 600 บาท/คน/เดือน – อายุ 70-79 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 700 บาท/คน/เดือน – อายุ 80-89 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 800 บาท/คน/เดือน – อายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 1,000 บาท/คน/เดือน น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า หากประชาชนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเบี้ยพิเศษรายปีของผู้สูงอายุข้างต้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางใด ขออย่าได้หลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่งต่อ หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อไม่เป็นการสร้างความสับสนและเข้าใจผิดแก่ประชาชนในวงกว้าง
    std46535
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    แอปเป๋าตัง ให้กู้เงิน 1 หมื่นบาท ลงทะเบียนได้ทุกอาชีพ
    ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง แอปเป๋าตัง ให้กู้เงิน 1 หมื่นบาท ลงทะเบียนได้ทุกอาชีพ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารกรุงไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีการโพสต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขอสินเชื่อกับธนาคารกรุงไทย ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังนั้น ทางธนาคารกรุงไทยได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีบริการให้สินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ซึ่งแอปพลิเคชันเป๋าตัง เป็นแพลตฟอร์มด้านการเงินระบบเปิด สามารถใช้บริการแม้ไม่มีบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทย ให้บริการครอบคลุมทั้งบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet) รองรับการทำธุรกรรมโอนเงิน เติมเงิน และชำระค่าสินค้าและบริการ รวมถึงบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ (G-wallet) รองรับการทำนโยบายของภาครัฐ บริการกระเป๋าสุขภาพ (Health Wallet) ตรวจเช็กสิทธิด้านสุขภาพผ่านเป๋าตัง บริการด้านการลงทุนพันธบัตรของรัฐผ่านวอลเล็ต สบม.รวมถึงบริการเกี่ยวกับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ช่วยให้การจัดการบัญชีกยศ. สะดวก และรวดเร็ว . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้หากพบ SMS อีเมล หรือ LINE ที่มีลิงก์แอบอ้างเป็นธนาคาร หรือพบเหตุผิดปกติ สามารถแจ้งผ่าน Facebook Fanpage Krungthai Care และ Krungthai Contact Center โทร 02-111-1111 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    Hathaikan Inmaung
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! โครงการเราชนะ แจกเงินเพิ่ม 7,000 บาท
    ตามที่มีการแชร์ข้อมูลในสื่อโซเชียลเรื่องโครงการเราชนะ แจกเงินเพิ่ม 7,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีคลิปวิดีโอส่งต่อข้อมูลว่า โครงการเราชนะ แจกเงินเพิ่ม 7,000 บาท ทั่วประเทศ ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลข้างต้นไม่เป็นความจริง และข้อความดังกล่าวไม่ได้มาจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายแจกเงินตามที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด
    std46661
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false