1 คนสงสัย
ยาพิษจากข่าว
ข่าวโทรทัศน์ไม่ใช่เวที “ลองผิดลองถูก” ของผู้ประกาศข่าวหรือนักเล่าข่าวทั้งหลาย!!
เพราะนี่คือการนำเสนอข้อเท็จจริงของข่าวไปสู่ผู้รับชมทางบ้าน ซึ่งต้องชัดเจน ถูกต้อง และที่สำคัญคือไม่มีอคติใดๆต่อผู้ตกเป็นข่าวทั้งสิ้น
ได้ชมข่าวของสถานีแห่งหนึ่ง ดูโลโก้ช่องแล้วน่าเชื่อถือ จะเรียกว่าเป็นสถาบันเก่าแก่แห่งหนึ่งก็ว่าได้
ผู้ประกาศข่าว-นักเล่าข่าว ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงนำเสนอเนื้อหาข้อเท็จจริงเท่านั้น แต่ได้แสดงบทบาทของคอมเมนเตเตอร์ด้วย โดยเอาความคิดเห็นส่วนตัวใส่ลงไปในข่าวด้วย

บทบาทเช่นนี้แหละที่จะบอกว่า “น่ากลัว” อย่างยิ่ง ส่งผลกระทบซึมซับต่อผู้ชมโดยหวังผลอย่างแยบยล

ข่าวทุกชิ้นถูกชำแหละด้วยอคติส่วนตัวหรือด้วยข้อเท็จจริง ไม่ครบถ้วน เล่าข่าวพร้อมกับตัดสิน “พิพากษาข่าว” ไปในตัว!!

นี่คือเหตุที่ทำให้ผู้รับสารอาจเข้าใจในสาระของข่าวผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือเข้าใจว่าผู้เล่าข่าวนั้นได้สรุปถูกต้องแล้ว

บรรดาขาจรที่ไม่ใช่แฟนประจำตัวจริง ก็โปรดใช้วิจารณญาณให้มากๆแล้วกัน!!
std48917
 •  2 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น

เสียดสีแอคปลอม

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ข่าวบิดเบือน แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์
    ข่าวบิดเบือน แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ . ตามที่มีการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน . กรณีการโพสต์ให้ข้อมูลโดยระบุว่าพบกรดเบนโซอิกในก๋วยเตี๋ยวประเภทต่างๆ โดยแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากที่มีการแชร์ข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเมื่อปี 2550 ซึ่งสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านการตรวจวิเคราะห์อาหารของประเทศ ได้มีการตรวจวิเคราะห์เฝ้าระวังการใช้วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค) ในอาหารประเภทเส้นมาอย่างต่อเนื่อง . นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งการผลิตอาหารประเภทเส้น บางชนิดมีการใช้วัตถุกันเสีย เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต หรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้อาหารเน่าเสีย หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกรดเบนโซอิกทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย แต่หากได้รับในปริมาณน้อยร่างกายสามารถขับออกไปได้ ซึ่งข้อมูลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตรและองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ (The joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives, JECFA) ได้ประเมินและกำหนดค่าความปลอดภัย (ADI) พบว่า มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์น้อย . อย่างไรก็ตามวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดมีข้อกำหนดการใช้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) สำหรับกรดเบนโซอิกให้ใช้ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในอาหารประเภทเส้นที่ผ่านกระบวนการต้ม การนึ่ง การปรุงให้สุกการพรีเจลาทิไนซ์ (Pre-gelatinized) หรือแช่เยือกแข็ง และเส้นแบบกึ่งสำเร็จรูป ส่วนกรดซอร์บิกให้ใช้ได้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เฉพาะอาหารประเภทเส้นแบบกึ่งสำเร็จรูป . เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเส้นที่ทำจากแป้งอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาผู้ผลิตให้มีความรู้ความเข้าใจการใช้วัตถุกันเสียอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ซึ่งผู้ผลิตจะต้องควบคุมกระบวนการผลิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน GMP สำหรับผู้บริโภคควรเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ สะอาด ถูกสุขอนามัย และไม่ควรรับประทานอาหารซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ . ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www3.dmsc.moph.go.th หรือโทร. 02 9510000 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลที่มีการบอกต่อดังกล่าวเป็นข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์เมื่อปี 2550 แต่ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ประเภทเส้นที่ทำจากแป้งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน GMP . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . Website : https://www.antifakenewscenter.com/
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ดื่มน้ำตอนเล่นมือถือ
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต . ตามที่มีข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับเรื่องห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีผู้ส่งต่อข้อมูลว่า ห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า คลิปที่มีการเผยแพร่ต่อ ๆ กันดังกล่าว เป็นเพียงการแสดงเท่านั้น เพราะหากถูกไฟดูดจริง จะต้องมีการสะบัดมือที่จับโทรศัพท์ หรือร่างกายต้องกระตุกจากการโดนไฟช็อต รวมทั้งกระแสไฟจะต้องครบวงจรก่อน ซึ่งไม่ต้องรอถึงขั้นดื่มน้ำก็สามารถที่จะโดนไฟดูดได้แล้ว . ทั้งนี้ การเสียชีวิตโดยที่มีกระแสไฟวิ่งเข้าหัวใจหลังจากดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ซึ่งการเสียชีวิตดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับวัสดุที่มีแรงดันไฟฟ้ามาอยู่ใกล้กับอวัยวะในร่างกายที่ค่อนข้างบอบบาง เช่น หู แก้ม เป็นต้น . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.nectec.or.th/ หรือ โทร. 02-564-6900 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเสียชีวิตโดยที่มีกระแสไฟวิ่งเข้าหัวใจหลังจากดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ซึ่งการเสียชีวิตดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับวัสดุที่มีแรงดันไฟฟ้ามาอยู่ใกล้กับอวัยวะในร่างกายที่ค่อนข้างบอบบาง เช่น หู แก้ม เป็นต้น . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    std48339
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย.เตือนอย่าซื้อผลิตภัณฑ์อ้างลดอ้วน ‘De2xy และ Me2shape’ เสี่ยงอันตราย
    อย.เตือนสาวอยากผอมระวัง อย่าซื้อผลิตภัณฑ์อวดอ้างลดอ้วน De2xy และ Me2shape พบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ขออนุญาตกับ อย. แถมโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เสี่ยงได้รับอันตรายถึงชีวิต นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ “De2xy และ Me2Shape” ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นั้น อย.ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบการโฆษณาสรรพคุณอ้างลดน้ำหนักทางเฟซบุ๊กชื่อ Sunisa Lv’tl แสดงข้อความในทำนองช่วยควบคุมน้ำหนัก เปลี่ยนหุ่นเสีย เป็นหุ่นสวย เพราะมีตัวช่วยหุ่นดีที่ไม่ต้องอด ก็ลดได้ เพียงแค่วันละ 1 - 2 แคปซูล ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตและโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้โฆษณาแล้ว นอกจากนี้ จากการสืบค้นข้อมูลในระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารในชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาต้นตอแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ต่อไป รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า ขอเตือนภัยสาวอยากผอมพึงระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อคารมการโฆษณาเกินจริงจากผู้ขายโดยเด็ดขาด นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกรณีเป็นยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ลดความอยากอาหาร เป็นยาที่กระตุ้นประสาทส่วนกลางการใช้จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ขณะรับประทานยา แต่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดยา หรือที่เรียกว่า yo-yo effect และผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่พบบ่อย คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ตาพร่า ดังนั้น การใช้ยาเพื่อลดความอ้วน ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น อย่าซื้อยามารับประทานเอง ส่วนกรณีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง มักตรวจพบว่ามีการผสมยาหรือสารอันตราย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พร้อมเตือนผู้ขายอย่าโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอวดอ้างลดความอ้วนผ่านสื่อทุกช่องทาง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีทันที ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
    std47993
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    Bonnie Henry เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำจังหวัดบริติชโคลัมเบียซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกในตำแหน่งนี้ เธอยังเป็นรองศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย เธอมีพื้นฐานด้านระบาดวิทยาและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน เธอยังมาจาก PEI (เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด) ภูมิปัญญาของดร. บอนนี่เฮนรี่ 1. เราอาจต้องอยู่กับ COVID-19 เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี อย่าปฏิเสธหรือตื่นตระหนก อย่าทำให้ชีวิตของเราไร้ประโยชน์ มาเรียนรู้ที่จะอยู่กับข้อเท็จจริงนี้กันเถอะ 2. คุณไม่สามารถทำลายไวรัส COVID-19 ที่เจาะผนังเซลล์ได้โดยการดื่มน้ำร้อนมากๆ อีกทั้งจะทำให้คุณเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นด้วย 3. การล้างมือและรักษาระยะห่างทางกายภาพสองเมตรเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันของคุณ 4. หากคุณไม่มีผู้ป่วย COVID-19 ที่บ้านก็ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อพื้นผิวที่บ้านของคุณ 5. ตู้สินค้า ปั๊มน้ำมัน รถเข็น และตู้เอทีเอ็ม ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ หากมีการล้างมือบ่อย จากใช้ชีวิตตามปกติ 6. โควิด -19 ไม่มีความเสี่ยง ที่แสดงให้เห็นว่า COVID-19 ติดต่อทางอาหารได้ 7. คุณสามารถสูญเสียความรู้สึกในการดมกลิ่น ด้วยอาการแพ้ และการติดเชื้อไวรัสจำนวนมาก นี่เป็นเพียงอาการไม่เฉพาะเจาะจงของ COVID-19 8. เมื่ออยู่บ้าน คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าอย่างเร่งด่วนแล้วไปอาบน้ำ ไม่ควรถึงกับหวาดระแวง 9. ไวรัส COVID-19 ไม่ค้างอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน นี่คือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่ต้องสัมผัสใกล้ชิด 10. อากาศสะอาด คุณสามารถเดินผ่านสวนและผ่านสวนสาธารณะ (เพียงแค่รักษาระยะป้องกันทางกายภาพของคุณ) 11. ควรใช้สบู่ธรรมดาเพื่อป้องกันไวรัสโควิด -19 ไม่ใช่สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย เพราะนี่คือไวรัสไม่ใช่แบคทีเรีย 12. คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการสั่งอาหารของคุณ แต่คุณสามารถอุ่นทั้งหมดในไมโครเวฟได้หากต้องการ 13. โอกาสที่จะนำ COVID-19 กลับบ้านพร้อมกับรองเท้าก็เหมือนกับการถูกฟ้าผ่า 2 ครั้งในหนึ่งวัน ฉันทำงานกับไวรัสมา 20 ปี การติดเชื้อไม่แพร่กระจายแบบนั้น 14. คุณไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ด้วยน้ำส้มสายชูน้ำอ้อยและขิง! สิ่งเหล่านี้มีไว้เพื่อภูมิคุ้มกันไม่ใช่การรักษา 15. การสวมหน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน อาจจะรบกวนการหายใจและระดับออกซิเจนของคุณลดลง จงสวมใส่ในฝูงชนเท่านั้น 16. การสวมถุงมือก็เป็นความคิดที่ไม่ดีเช่นกัน ไวรัสสามารถสะสมเข้าไปในถุงมือและแพร่เชื้อได้ง่ายหากคุณสัมผัสใบหน้า ดังนั้นจึงควรล้างมือเป็นประจำ จะดีกว่า ภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลงเมื่อ ร่ายกายอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ แม้ว่าคุณจะกินอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน แต่ควรจะออกจากบ้าน ไป สวนสาธารณะ / ชายหาดเป็นประจำ ภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นตามการสัมผัส ไม่ใช่โดยการนั่งอยู่บ้านและบริโภคอาหารทอด / เผ็ด / หวานและเครื่องดื่มเติมอากาศ จงฉลาด ใช้ชีวิต รับทราบข้อมูล อย่างมีเหตุผล อย่าวิตก จนเกินไป ชีวิตจะปลอดภัย
    ไม่ระบุชื่อ
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! เล่นมือถือนาน ๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป
    ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเล่นมือถือนานๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการเตือนภัยว่าการเล่นมือถือเป็นระยะเวลานาน จนทำให้พักผ่อนน้อย ส่งผลให้ปลายประสาทที่เลี้ยงใบหน้าอักเสบ หน้าผิดรูป ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า การพักผ่อนน้อย หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก และปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทจะทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือมีลักษณะขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ยิ้มไม่ขึ้น มักเป็นใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง สาเหตุการเกิดมีหลายปัจจัย เช่น เกิดตามหลังอุบัติเหตุบริเวณเส้นประสาทโดยตรง, การติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลายใกล้ๆเส้นประสาท, การพบเนื้องอกกดเบียดเส้นประสาท หรือเกิดจากการอักเสบของตัวเส้นประสาทเอง (Bell’s palsy) เป็นต้น สำหรับภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือ Bell’s palsy นั้น การอักเสบของเส้นประสาทดังกล่าวเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้มีสาเหตุที่สรุปได้ชัดเจน แต่อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเริม หรืองูสวัด ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดขึ้นเร็วระยะเวลาภายใน 48 ชั่วโมง เช่นกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง ขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก รับประทานอาหารและดื่มน้ำลำบาก ร่วมกับอาจมีอาการหูข้างนั้นได้ยินเสียงก้องกว่าปกติ รับรสผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีอาการผิดปกติที่สงสัยภาวะดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ โดยการรักษาโรคนี้ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในช่วงแรกที่มีอาการ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวดีขึ้น ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าในระยะยาว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆและเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ การพักผ่อนน้อย ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข AFNCAFNCTHAILANDข่าวปลอมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหน้าเบี้ยวเล่นมือถือโทรศัพท์มือถือ ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง website 2378 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 16:30 น. website 2374 ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 13:30 น. ข่าวล่าสุด website 2384 ข่าวปลอม อย่าแชร์! ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือน การเงิน-หุ้น website 2383 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2382 สธ. เปิดตัวรถฟอกไตเคลื่อนที่นวัตกรรมต้นแบบคันแรกของไทย จริงหรือ? นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2381 ข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท การเงิน-หุ้น website 2380 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมพัฒนาธุรกิจฯ รับสมัครพนักงานนำเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วัน นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร เมนูหลัก หน้าแรก แจ้งเบาะแสข่าวและติดตาม คลังความรู้ ข่าวสาร ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน เกี่ยวกับการใช้งาน ตัวช่วยเหลือในการเข้าถึงเว็บไซต์ นโยบายรักษาความลับข้อมูลส่วนตัว line facebook twiter twiter twiter call สายด่วน : 1111 ต่อ 87 Logo Copyright © 2023 ANTI-FAKE NEWS CENTER THAILAND ขออนุญาตใช้คุกกี้เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอ
    สุริยนต์ พักแดงพันธ์
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 3 คนสงสัย
    ข่าวปลอม! ผลิตภัณฑ์ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ
    วันนี้ (3 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการแนะนำผลิตภัณฑ์ ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากฐานข้อมูลใบรับจดแจ้งเครื่องสำอางไม่พบชื่อผลิตภัณฑ์ “ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม” จึงได้ไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ พบว่าอย. ได้เคยประกาศผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ “ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ครีมรกแกะ หน้าขาวใสลดจุดด่างดำ” ว่าพบสารประกอบของปรอท (Mercury compound) ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ จัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง และเกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ ขอแนะนำให้ประชาชนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีฉลากภาษาไทยที่ระบุชื่อที่ตั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้า เลขที่ใบรับจดแจ้งอย่างชัดเจน หากไม่แน่ใจสามารถตรวจสอบข้อมูลการได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ อย.
    std46341
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    พิษจากดื่มน้ำเย็นิจริงหรือไม่
    ■พิษจากดื่มน้ำเย็น■ ~~~~~~~~~~~~~ ★จะปวดหลัง ข้อเข่า ไตอ่อนแอ •••••••○••••••○•••••• ◆ใครจะไปเชื่อว่า.. การดื่มน้ำเย็นจะมีพิษ มีภัย และให้โทษได้ถึงขนาดนี้ ((((▶ ♣หมอได้พบผู้ป่วย ที่มีอาการแขนขาอ่อน แรง หรือที่เรียกกันว่า โรคอัมพฤกษ์ ซึ่งสืบค้นต้นตอไปๆมาๆ ก็พบว่า สาเหตุมาจากพฤติกรรมการดื่มน้ำเย็น หรือ น้ำแข็งเป็นประจำนั่นเอง ผู้ป่วยเล่าให้ฟังว่า ไม่กินผักมาตั้งแต่เล็กๆ รับประทานแต่เนื้อสัตว์ ที่สำคัญคือชอบดื่มน้ำ เย็นเป็นประจำมาตั้งแต่ เด็ก และต้องเป็นน้ำเย็นจากตู้เย็นเท่านั้น ■ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้น ร่างกายผู้ป่วยได้ส่งสัญญาณเตือนมาหลายครั้ง เช่น มึนเวียนศีรษะง่าย เห็นเหมือนแสงไฟแวบๆขณะกระพริบตา การพูดเริ่มติดๆขัดๆ สุดท้ายเกิดอาการวูบกะทันหัน ต้องนำส่งโรงพยาบาล เมื่อรู้สึกตัวอีกครั้งผู้ป่วยก็ไม่สามารถขยับร่างกายซีกซ้ายได้แล้ว นี่คืออาการของโรคเส้นเลือดตีบที่สมองในวัยเพียง 40 ปี ที่ชอบทานแต่น้ำเย็นมาตลอดเวลา ★การดื่มน้ำเย็น สำหรับคนไทยนั้น ทำให้ "ไต ต้องรับกำจัดความเย็น ออกจากร่างกาย อย่างรวดเร็ว" ขับน้ำเย็นมากักเก็บ ไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ เตรียมขับออกเป็น น้ำปัสสาวะทำให้ผู้ที่ ชอบทานน้ำเย็นก็ยิ่ง ขาดน้ำจนเลือดข้น หนืดไปหมด ประกอบกับหลอดเลือดที่เริ่มแข็งกระด้างไม่ยืดหยุ่น ทำให้มีคราบไขมัน และของเสียไปยึดเกาะตามผนังหลอดเลือด จนเกิดการพอกพูน กลายเป็นโรคหลอด เลือดตีบ ก็เพราะน้ำเย็นที่ชอบ ทานเป็นประจำนั่นเอง ★ไตของเราเปรียบ เสมือนเครื่องกรองน้ำ อันน่าอัศจรรย์ ทำหน้าที่ช่วยกรอง ของเสียออกจากเลือด แล้วขับออกทาง ปัสสาวะการทำหน้าที่ ตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุดของไตนั้น ถ้าเราไปซ้ำเติมด้วยการรับประทานสิ่งที่เป็นพิษต่อร่างกายรวมทั้ง ★น้ำเย็นด้วยก็จะทำให้ เกิดภาวะไตอ่อนแอและจะส่งสัญญาณร้อง ให้เราทราบดังนี้ ★1.ปัสสาวะบ่อยขึ้น อั้นปัสสาวะไม่ได้นาน ดื่มน้ำเข้าไปแล้วต้อง วิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยๆ กลางคืนก็ต้องลุกขึ้นเข้าห้องน้ำหลายเที่ยว ★2.มีอาการปวดหลัง ปวดเอวบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลานั่งนานๆ ★3.ปวดเมื่อยตามข้อ และ ร่างกายง่าย เช่น ปวดข้อเข่า ปวดต้นคอ ★4.หลอดเลือดตีบตัน หรือ หลอดเลือดแข็งได้ง่าย ★หากใครยังทาน....... ●น้ำเย็น นมเย็น ●กาแฟเย็น น้ำอัดลม ●น้ำหวานเย็น ชาเย็น อยู่เป็นประจำ ●มีอาการปวดหลังแน่ๆ ก็ต้องดูแลตนเองง่ายๆ ดังนี้ ■1.ปรับเลือดที่หนืดข้น ให้หายข้นด้วยการเพิ่ม น้ำเข้ากระแสเลือด โดยทานน้ำอุ่นให้ได้ 8-10 แก้ว ทุกวัน ■2.ทำให้เลือดไหล เวียนสะดวกอย่าง ต่อเนื่องด้วยการ..... ■ออกกำลังเป็นประจำที่สามารถทำได้ หรือ อาจใช้การจัดกระดูก ช่วยให้เลือดไหลเวียน สม่ำเสมอ ■3.ไม่กินอาหาร..... ◆เนื้อสัตว์ ของทอด ◆ของหวานจัดเพราะ ◆ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ปริมาณมากจนทำให้ หลอดเลือดแข็ง หรือ ตีบตันได้ง่าย ■4.งดการทานน้ำเย็น เด็ดขาดรู้แล้วอย่า เฉยเมยนะควรปฎิบัติ ด้วยและรู้แล้วอย่า เก็บไว้คนเดียวโปรด แบ่งปันให้คนรอบข้าง ของตัวเรา (((((((▪ ★พันเอก ดร.นพ.ดำรง หมอประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (((((((▪ (💐
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ให้ความเห็นวิจารณ์การเมือง
    ตามที่มีคลิปวิดีโอได้เผยแพร่เนื้อหา เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ให้ความเห็นวิจารณ์การเมือง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ ที่มีเนื้อหาพาดพิงถึงผู้ว่าการแบงก์ชาติ ซึ่งระบุว่าผู้ว่าการแบงก์ชาติได้ให้ความเห็นวิจารณ์การเมืองนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า เป็นการนำ ปาฐกถาพิเศษ งานสัมมนาออนไลน์ในโอกาสครบรอบ 40 ปี วารสารการเงินธนาคาร Thailand’s Next Move : Looking Beyond Covid-19 หัวข้อ Looking Beyond Covid-19 : โจทย์ที่ท้าทายของเศรษฐกิจไทยหลังยุคโควิด 19″ ของ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไปรายงานปนกับข่าวท่านนายกฯ ไปพูดที่ UN ทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่า ท่านผู้ว่าการวิพากษ์การเมือง ซึ่งในเนื้อหาเป็นการพูดเรื่องภาวะเศรษฐกิจ Speech ผว. ธปท. https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Speeches/Gov/SpeechGov_18Nov2021.pdf
    syd46659
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ .
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ . ตามที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อโซเชียลเกี่ยวกับประเด็นไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อความบนสื่อโซเซียลโดยระบุไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง เจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับสูง ทางสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไลน์ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งข้อความขอยืมเงิน,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่งข้อความขอรับเงินบริจาคทำบุญสร้างห้องน้ำสาธารณะ,ไลน์รมว.ศึกษาธิการ ส่งข้อความขอยืมเงิน,ไลน์นายกเทศมนตรี จ.ยะลา ส่งข้อความขอยืมเงิน และไลน์ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่งข้อความขอยืมเงิน ไลน์ดังกล่าวเป็นของมิจฉาชีพทั้งหมด ที่แอบอ้างใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐ และที่มีการแอบอ้างใช้ชื่อรูปภาพของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐระดับสูง ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและหลงเชื่อ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.opsmoac.go.th/ หรือโทร 0-2281-5884 ,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://web.parliament.go.th หรือโทร 0-2242-5900 ,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://ops.moe.go.th/ หรือโทร 02-628-6346 ,เทศบาลนครยะลา สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://yalacity.go.th/intro/?v=1 หรือโทร 073-223666 และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.m-society.go.th/ หรือโทร 1300 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไลน์ดังกล่าวเป็นของมิจฉาชีพ ที่แอบอ้างใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐ และที่มีการแอบอ้างใช้ชื่อรูปภาพของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและหลงเชื่อ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ไลน์ปลอม #แอบอ้าง #มิจฉาชีพ
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มช่วยทำให้ดั้งโด่ง ภายใน 7 วัน
    วันนี้ (24 ธ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการโฆษณาทางสื่อโซเชียลเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มช่วยทำให้ดั้งโด่ง ภายใน 7 วัน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มที่ระบุสรรพคุณว่า หากทาสามารถช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าไม่มีครีมหรือเซรั่มใดที่ทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน ได้จริง เป็นเพียงการกล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกเพื่อทำความสะอาด สวยงามแต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้ โดยเภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ให้ข้อมูลว่า โครงสร้างของจมูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างส่วนด้านบนเป็นกระดูกแข็ง ด้านล่างเป็นกระดูกอ่อน โดยห่อหุ้มด้วยผิวหนังและไขมัน ดังนั้นครีมที่ทำให้ดั้งโด่งจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูก ส่งผลให้จมูกโด่งอย่างแน่นอน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับภายนอกร่างกายของมนุษย์ รวมถึงฟันและเยื่อบุในช่องปาก เพื่อความสะอาด ความสวยงาม แต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ทำให้ดั้งโด่งได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วัน ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงการกล่าวอ้างสรรพคุณที่โกหก เพราะครีมหรือเซรั่มเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ที่หลอกลวงสรรพคุณให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ถือเป็นการโฆษณาที่แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และขอเตือนผู้บริโภคให้คิดก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการโฆษณาสรรพคุณต่าง ๆ ว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายได้ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th และหากพบเห็นการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงขอให้แจ้งร้องเรียนมาที่สายด่วน อย. 1556
    Hathaikan Inmaung
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false