เด็กเล็กๆ มักสมาธิสั้น และโดยสัญชาตญาณทันทีที่พวกเขาหยิบจับอะไร ก็มักจะนำเข้าปากก่อน ดังนั้นจึงมีกรณีที่น่าสลดใจมากมาย เช่น เด็กสำลักสิ่งแปลกปลอม, กลืนสารเคมีที่เป็นพิษ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่พ่อแม่ยากจะทำใจยอมรับ
เพื่อเป็นบทเรียนเตือนใจพ่อแม่ นพ.อู๋ ฉางเถิง ซึ่งทำงานในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเด็กเหอหนาน ประเทศจีน ได้นำเสนอกรณีเด็กวัย 1 ขวบที่กลืนซองสารดูดความชื้นในขนม เพื่อเป็นการเตือนว่าทุกสิ่งรอบตัวเด็กหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นอันตรายได้เสมอ ซึ่งโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว
คุณหมอเล่าว่า ช่วงบ่ายวันที่ 4 มิถุนายน ที่ผ่านมา เขาได้รับคนไข้เด็กอายุ 1 ขวบ ซึ่งแม่อุ้มเข้ามาโรงพยาบาลด้วยอาการตื่นตระหนก บอกว่าลูกชายของเธอกลืนเม็ดกันความชื้นเข้าไป เธอจึงอุ้มมาเพื่อให้หมอช่วยล้างท้อง แต่หลังจากดูถุงดูดความชื้นที่แม่นำมาด้วย หมอก็ได้อธิบายไปอย่างใจเย็นว่า สารดูดความชื้นที่ใช้กันทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท ในกรณีนี้ทารกกลืนสารดูดความชื้นซิลิกาเจล (Silica Gel) โชคดีที่ตรวจแล้วพบว่าไม่มีอันตรายถึงชีวิต
สารความชื้นจากซิลิกาเจล (Silica Gel) เมื่อลูกพลาดกลืนลงไปแล้ว ผู้ปกครองต้องจัดการอย่างใจเย็น ธรรมชาติของเม็ดซิลิกาเจลมีความเฉื่อยทางเคมีจึงไม่ทำปฏิกิริยากับร่างกาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอนุภาคป้องกันความชื้นมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำ ดังนั้นควรให้เด็กดื่มน้ำสะอาดปริมาณมากๆ เมื่ออนุภาคซิลิกาเจลได้รับการเติมน้ำ จะไม่ทำปฏิกิริยากับเยื่อเมือกของร่างกาย และถูกขับออกทางทางเดินอาหาร
ส่วนประเภทที่สองประกอบด้วยแคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide) มักบรรจุในซองสีขาวและเขียนตัวอักษรสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสารกัดกร่อนที่เผาไหม้หลอดอาหาร กรณีที่เด็กเคี้ยวหรือกลืนสารกันความชื้นที่ทำจากผงปูนขาวเข้าไป อาจทำให้ปากไหม้ เป็นแผลในคอ ขึ้นอยู่กับระดับของสารเคมีที่เด็กสัมผัส ดังนั้น ผู้ปกครองต้องให้เด็กบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหรือดื่มน้ำมากๆ เพื่อลดความเข้มข้นของด่างที่เกิดปฏิกิริยา
ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใจเย็น แทนที่จะตื่นตระหนก หรือบังคับให้เด็กอาเจียน เพราะเหตุการณ์เหล่านี้จะส่งผลต่อจิตใจเด็ก ในขณะเดียวกันก็พาเด็กไปที่สถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันทีเพื่อรับการตรวจ วินิจฉัย และรักษาอย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ คุณหมอเน้นย้ำด้วยว่า ซองดูดความชื้นส่วนใหญ่มักบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กที่จะฉีกบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ออกจากกันเพื่อเล่น อย่างไรก็ดี เนื่องจากซองดูดความชื้นส่วนใหญ่เป็นอันตรายต่อเด็กหากฉีกและกลืน สูดดมหรือทำกระเด็นเข้าตา ในกรณีกระเด็นเข้าตา ต้องใช้น้ำเกลือล้างให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ควรขยี้ตา เพราะจะทำให้กระจกตาเสียหายได้ง่ายกว่า หลังจากนั้นให้ไปที่สถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุผู้ปกครองควรระวังอย่าให้เด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่รู้หนังสือ สัมผัสกับบรรจุภัณฑ์ดูดความชื้นทุกชนิด ควรวางผลิตภัณฑ์ที่มีซองดูดความชื้นไว้ในที่สูงและมิดชิดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเล่น
เพื่อเป็นบทเรียนเตือนใจพ่อแม่ นพ.อู๋ ฉางเถิง ซึ่งทำงานในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเด็กเหอหนาน ประเทศจีน ได้นำเสนอกรณีเด็กวัย 1 ขวบที่กลืนซองสารดูดความชื้นในขนม เพื่อเป็นการเตือนว่าทุกสิ่งรอบตัวเด็กหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นอันตรายได้เสมอ ซึ่งโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว
คุณหมอเล่าว่า ช่วงบ่ายวันที่ 4 มิถุนายน ที่ผ่านมา เขาได้รับคนไข้เด็กอายุ 1 ขวบ ซึ่งแม่อุ้มเข้ามาโรงพยาบาลด้วยอาการตื่นตระหนก บอกว่าลูกชายของเธอกลืนเม็ดกันความชื้นเข้าไป เธอจึงอุ้มมาเพื่อให้หมอช่วยล้างท้อง แต่หลังจากดูถุงดูดความชื้นที่แม่นำมาด้วย หมอก็ได้อธิบายไปอย่างใจเย็นว่า สารดูดความชื้นที่ใช้กันทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท ในกรณีนี้ทารกกลืนสารดูดความชื้นซิลิกาเจล (Silica Gel) โชคดีที่ตรวจแล้วพบว่าไม่มีอันตรายถึงชีวิต
สารความชื้นจากซิลิกาเจล (Silica Gel) เมื่อลูกพลาดกลืนลงไปแล้ว ผู้ปกครองต้องจัดการอย่างใจเย็น ธรรมชาติของเม็ดซิลิกาเจลมีความเฉื่อยทางเคมีจึงไม่ทำปฏิกิริยากับร่างกาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอนุภาคป้องกันความชื้นมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำ ดังนั้นควรให้เด็กดื่มน้ำสะอาดปริมาณมากๆ เมื่ออนุภาคซิลิกาเจลได้รับการเติมน้ำ จะไม่ทำปฏิกิริยากับเยื่อเมือกของร่างกาย และถูกขับออกทางทางเดินอาหาร
ส่วนประเภทที่สองประกอบด้วยแคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide) มักบรรจุในซองสีขาวและเขียนตัวอักษรสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสารกัดกร่อนที่เผาไหม้หลอดอาหาร กรณีที่เด็กเคี้ยวหรือกลืนสารกันความชื้นที่ทำจากผงปูนขาวเข้าไป อาจทำให้ปากไหม้ เป็นแผลในคอ ขึ้นอยู่กับระดับของสารเคมีที่เด็กสัมผัส ดังนั้น ผู้ปกครองต้องให้เด็กบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหรือดื่มน้ำมากๆ เพื่อลดความเข้มข้นของด่างที่เกิดปฏิกิริยา
ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใจเย็น แทนที่จะตื่นตระหนก หรือบังคับให้เด็กอาเจียน เพราะเหตุการณ์เหล่านี้จะส่งผลต่อจิตใจเด็ก ในขณะเดียวกันก็พาเด็กไปที่สถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันทีเพื่อรับการตรวจ วินิจฉัย และรักษาอย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ คุณหมอเน้นย้ำด้วยว่า ซองดูดความชื้นส่วนใหญ่มักบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กที่จะฉีกบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ออกจากกันเพื่อเล่น อย่างไรก็ดี เนื่องจากซองดูดความชื้นส่วนใหญ่เป็นอันตรายต่อเด็กหากฉีกและกลืน สูดดมหรือทำกระเด็นเข้าตา ในกรณีกระเด็นเข้าตา ต้องใช้น้ำเกลือล้างให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ควรขยี้ตา เพราะจะทำให้กระจกตาเสียหายได้ง่ายกว่า หลังจากนั้นให้ไปที่สถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุผู้ปกครองควรระวังอย่าให้เด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่รู้หนังสือ สัมผัสกับบรรจุภัณฑ์ดูดความชื้นทุกชนิด ควรวางผลิตภัณฑ์ที่มีซองดูดความชื้นไว้ในที่สูงและมิดชิดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเล่น
ลูกกลืนซองกันชื้น แม่ร้องลั่น "ล้างท้อง!" แต่หมอบอกไม่ต้อง แนะวิธีปฐมพยาบาลง่ายๆ
https://www.sanook.com/news/8906822/เด็กเล็กๆ มักสมาธิสั้น และโดยสัญชาตญาณทันทีที่พวกเขาหยิบจับอะไร ก็มักจะนำเข้าปากก่อน ดังนั้นจึงมีกรณีที่น่าสลดใจมากมาย เช่น เด็กสำลักสิ่งแปลกปลอม, กลืนสารเคมีที่เป็นพิษ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่พ่อแม่ยากจะท