1 คนสงสัย
ขอเชิญร่วมลงชื่อคัดค้าน และเรียกร้องให้รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน ยกเลิกนโยบายแจกเงินดิจิทัลผ่าน “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ๑๐,๐๐๐ บาท และร่วมร้องเรียนให้ผู้ตรวจการแผ่นดินใช้อำนาจ ดำเนินการส่งเรื่องนี้ต่อศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าวของรัฐบาลขัดต่อพระราชบัญญัติเงินตรา พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และบทบัญญัติในส่วนของหน้าที่ของรัฐหรือไม่

ข้าพเจ้า วิรังรอง ทัพพะรังสี ได้ทำการยื่นหนังสือร้องเรียนถึงผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วตามรายละเอียดด้านล่างนี้ หากท่านเห็นด้วยกับหนังสือร้องเรียนดังกล่าว และต้องการเป็นผู้หนึ่งในการร่วมคัดค้านและเรียกร้องให้รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน ยกเลิกนโยบายแจกเงินดิจิทัลผ่าน “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ๑๐,๐๐๐ บาท โปรดสนับสนุนด้วยการร่วมลงชื่อในแบบฟอร์มนี้ค่ะ
https://forms.gle/4fuBV1WFaHWn2HUn9

ขอกราบขอบพระคุณทุกๆ ท่านที่ได้ร่วมลงชื่อ ขออนุญาตรวบรวมชื่อของท่าน เพื่อส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินต่อไปค่ะ

สุดท้ายนี้ ขอบกราบขอบพระคุณคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ ๘๑ ท่านที่ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านโยบายแจกเงินดิจิทัลผ่าน “กระเป๋าเงินดิจิทัล” และขออนุญาตนำแถลงการณ์นำส่งเป็นเอกสารแนบยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมถึงเหตุและผลที่ควรยกเลิกนโยบายดังกล่าว

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่หลวงมาก ข้าพเจ้าไม่อาจทราบว่าที่กระทำไปนี้จะได้ผลอย่างไรหรือไม่ เพราะรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีนสิน ดูจะเดินหน้าไม่ฟังเสียงประชาชนเลย

คิดว่าคงทำได้ตามกำลังเพียงเท่านี้ แต่ก็รู้สึกดีกว่าการที่จะไม่ได้ทำอะไรเลย.......

วิรังรอง ทัพพะรังสี
๗ ตุลาคม ๒๕๖๖

_________________________


ที่ ๐๔/ ๒๕๖๖

๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖

เรื่อง ร้องเรียนนโยบายแจกเงินดิจิทัลผ่าน “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ๑๐,๐๐๐ บาท ของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน ว่าขัดต่อพระราชบัญญัติเงินตรา พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และบทบัญญัติในส่วนของหน้าที่ของรัฐหรือไม่

สิ่งที่ส่งมาด้วย

๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน ๑ ฉบับ

๒. แถลงการณ์ นักวิชาการและอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ๘๑ ท่าน เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายแจกเงิน ดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาท

กราบเรียน ผู้ตรวจการแผ่นดิน

ตามที่ปรากฏในสื่อสารมวลชนว่า รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน มีนโยบายแจกเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้กับประชาชนทุกคนที่มีอายุ ๑๖ ปีขึ้นไปเพื่อกระตุ้นการบริโภค และได้มีผู้ที่มีความรู้ตลอดจนประชาชนจำนวนมาก ออกมาคัดค้านแสดงความไม่เห็นด้วย และขอให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายดังกล่าว แต่รัฐบาลก็ยังดึงดันที่จะเดินหน้าต่อไป

ล่าสุด เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๖ นักวิชาการและอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ๘๑ ท่าน รวมทั้งอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ๒ ท่าน คือ นางธาริษา วัฒนเกส และนายวิรไท สันติประภพ ได้ร่วมกันลงชื่อในแถลงการณ์ เห็นพ้องต้องกันเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายแจกเงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาท เพราะเป็นนโยายที่ “ได้ไม่คุ้มเสีย” โดยให้เหตุผลประกอบอย่างละเอียด (เอกสารแนบ ๒)

ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ข้าพเจ้า นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง มีความเห็นว่า นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่จะสร้างความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรมในสังคมให้เกิดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเศรษฐีและมหาเศรษฐี ที่อายุเกิน ๑๖ ปี จะได้รับเงินช่วยเหลือด้วยทั้งๆ ที่ไม่มีความจำเป็น นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังห่วงใยว่า นโยบายดังกล่าวไม่เพียงแต่จะไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง แต่เป็นการสร้างหนี้จำนวนสูงมากโดยไม่จำเป็น ซึ่งอาจจะส่งผลทำลายเสถียรภาพทางด้านการคลังของประเทศในระยะยาว โดยประชาชนทั้งประเทศจะต้องแบกรับความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับกรณีโครงการรับจำนำข้าวในสมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ด้านกฎหมาย รัฐบาล โดย นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมาชี้แจงในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๖ ว่าการจ่ายเงินดิจิทัล สามารถทำได้ ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.เงินตรา ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และยืนยันว่าไม่ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน

แม้รัฐบาลจะประกาศว่า “เงินดิจิทัล” ที่จะออกมาตามโครงการ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” นั้น จะไม่ใช่การออก “คริปโตเคอร์เรนซี” ซึ่งจะไม่สามารถทำได้ เพราะจะผิดตาม พ.ร.บ.เงินตรา ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดย “หนึ่งประเทศจะมีสองสกุลเงินไม่ได้” แต่จะออกมาในรูปแบบเหรียญ “ดิจิทัลโทเคน” ประเภท “ยูทิลิตี้ โทเคน (Utility Token)” ซึ่งจะเป็น “โทเคน” เพื่อการอุปโภคบริโภค จึงไม่ได้เป็นการสร้างสกุลเงินใหม่ และไม่ใช่กรณีเดียวกับ Bitcoin Luna หรือ USDT แต่เป็นเหรียญ คูปอง หรือสิทธิ์การใช้เงิน ที่ใช้ Blockchain เขียนเงื่อนไขลงไป

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ารัฐบาลจะใช้ “ดิจิทัลโทเคน” ประเภทยูทิลิตี้ โทเคน จะเป็นเหรียญ หรือจะเป็นคูปอง แต่เมื่อออกโดยรัฐบาล และประชาชนสามารถนำไปใช้จ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าได้แทนเงินสดกับร้านค้าได้ทั้งหมด เช่น ร้านโชห่วย ร้านสะดวกซื้อ ห้างแม็คโคร รวมถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นว่าจะแตกต่างกับการใช้เงินตราตรงไหน เหตุใดจึงไม่แจกเป็นเงินสดเข้ากระเป๋าสตางค์ให้แก่ประชาชนอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ต้องยุ่งยาก ร้านค้าที่รับก็ไม่ต้องลำบากในการนำไปแลกคืนกับรัฐบาลเพื่อรับกลับมาเป็น “เงินบาท”

ข้าพเจ้ามีความสงสัยว่า ลักษณะของเหรียญ หรือคูปอง ที่รัฐบาลจะนำออกมาใช้นี้ อาจเข้าข่ายเป็นการออกเงินตราอย่างหนึ่ง และเมื่อมีสภาพเป็นเงินตราก็จะเข้าบังคับพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ เนื่องด้วย “.....ตามเกณฑ์ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย “ยูทิลิตี้ โทเคน จะสามารถใช้แลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการต่างๆ แบบเฉพาะเจาะจง ภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือโครงการใดโครงการหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ต้องไม่มีลักษณะเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการในวงกว้าง ในลักษณะของการใช้แทนเงิน (Means of Payment: MOP) เป็นการทั่วไป ดังนั้น จึงอาจจะต้องพิจารณาให้ดีว่า การใช้โทเคนดังกล่าวในการซื้อสินค้า และบริการกับร้านค้าทั่วประเทศ อาจจะเข้าข่ายเป็น “การชำระในลักษณะการเป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและบริการในวงกว้าง” หรือ การใช้แทนเงิน ซึ่งจะผิดกฎเกณฑ์ของทางธนาคารแห่งประเทศไทย.....”

ที่มาของข่าวและข้อมูล:
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_7856583
https://www.thairath.co.th/money/experts_pool/columnist/2721853

สุดท้าย แม้รัฐบาลจะยืนยันว่า กระเป๋าเงินดิจิทัลเป็นนโยบายที่ตรงไปตรงมา ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทเอกชน และไม่เกี่ยวกับการฟอกเงินตามที่มีผู้กล่าวอ้าง แต่ประชาชนจำนวนมากมีความเห็นว่า หากรัฐบาลมีเงินสดที่จะแจกให้กับประชาชนได้ การแจกเงินก็ควรจะสามารถทำได้ตรงๆ เหมือนสมัยที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยแจกประชาชนผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ก็คุ้นเคยและใช้เป็นอยู่แล้ว แต่การที่รัฐบาลไม่แจกเป็นเงิน ทำให้เกิดเป็นเรื่องยุ่งยากที่ถกเถียงกันในสังคมทั้งด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและด้านกระบวนการปฏิบัติ ยังไม่รวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการชำระเงินดิจิทัล สร้างแอปพลิเคชันในการชำระเงิน และสร้างบล็อกเชนใหม่ขึ้นมา ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนและระยะเวลาจำนวนมาก สังคมจึงมีความเคลือบแคลงสงสัยว่า นโยบายดังกล่าวไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนและประเทศชาติในภาพรวม แต่อาจเป็นการหลบเลี่ยงหรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนต่างๆ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับอนาคตของประเทศ และขัดต่อวินัยการเงินและการคลังของประเทศอย่างร้ายแรง ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่มีความห่วงใยประเทศชาติ จึงได้ส่งหนังสือร้องเรียนนี้มากราบเรียนขอให้ท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน วินิจฉัย หรือดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ส่งเรื่องนี้ต่อศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่ากระทำดังกล่าวของรัฐบาลขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่อย่างไร ต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี
ไม่ระบุชื่อ
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น

ข่าวการเมือง เสียดสี

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    "ปลากระเบน" เครื่องมืออวตาร ส่ง SMS หลอกดูดเงิน
    ไม่ระบุชื่อ
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ถามหน่อยค่ะถ้าเรามีเงินในบัญชีแต่ไม่มีแอปธนาคารในโทรศัพท์มันจะดูดเงินในบัญชีของเราได้มั้ยคะ⁉️
    ⚠️ ถามหน่อยค่ะถ้าเรามีเงินในบัญชีแต่ไม่มีแอปธนาคารในโทรศัพท์มันจะดูดเงินในบัญชีของเราได้มั้ยคะ⁉️ คำตอบ : โดนได้ครับ ถ้าบอกเลขบัญชี + เลขประชาชน + เลขโทรศัพท์มือถือ ให้เขาไป เขาจะไปเปิดบัญชี wallet หรือกระเป๋าเงิน ผูกกับบัญชีธนาคารเรา และโอนเงินออกไป เข้าบัญชี wallet ‼️ วิธีการคนร้าย 1. คนร้ายจะเข้ามาทำทีเป็นลูกค้าขอซื้อของออนไลน์ และขอเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ในบัตรประชาชนของผู้เสียหาย 2. คนร้ายจะนำเอาข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น ไปเปิดบัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ขึ้นมาใหม่ และตั้งค่าบัญชี E-Wallet ให้เชื่อมกับบัญชีธนาคารผู้เสียหาย 3. หลังจากนั้นผู้เสียหายจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ ในทำนองว่า "คุณต้องการที่จะให้บัญชีธนาคารของคุณเชื่อมต่อกับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่" ซึ่งการแจ้งเตือนมีข้อความค่อนข้างยาว ทำให้ผู้เสียหายหลายรายไม่อยากอ่าน และมองว่าไม่น่าจะมีอันตรายอะไรเกิดขึ้น 4. เมื่อผู้เสียหายกด "ยอมรับ" หรือ "ตกลง" บน Mobile Banking การเชื่อมระหว่างบัญชี Mobile Banking ของผู้เสียหาย กับบัญชี E-Wallet ของคนร้ายก็จะสมบูรณ์ ดังนั้น จึงทำให้คนร้ายสามารถยักย้ายถ่ายโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย ผ่านช่องทาง Mobile Banking ไปยังบัญชี E-Wallet ของคนร้ายจนหมดภายในเวลาไม่กี่นาทีนั่นเอง จึงขอเตือนให้ทุกคนระมัดระวัง และพยายามอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวกับใคร หากมีการแจ้งเตือนเข้ามาในโทรศัพท์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน อย่าลืมอ่านข้อความที่แจ้งมาอย่างละเอียด หากอ่านแล้วไม่เข้าใจก็ยังไม่ต้องตอบตกลง เพราะไม่แน่ว่าการแตะหน้าจอเพียงครั้งเดียว อาจจะทำให้เงินในบัญชีถูกถอนออกจนหมดก็ได้ เครดิตข้อมูล และภาพ : เฟซบุ๊ก กองปราบปราม (กฎหมายตำรวจและพนักงานสอบสวน by ภูมิรพี ผลาภูมิ)✅
    Mrs.Doubt
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Maha Vajiralongkorn26" ได้โพสต์ข้อความว่า ในหลวงพระราชทานเงิน จริงหรือเปล่าคะ
    มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Maha Vajiralongkorn26" ได้โพสต์ข้อความแอบอ้าง โดยให้แชร์โพสต์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ เพื่อรับพระราชทานเงินจากในหลวง จริงหรือเปล่าคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    📍เปิดรับสมัครคนที่รักในการฟังเพลง📍 คนชอบฟังเพลงห้ามพลาด อยู่บ้านก็มีเงินเข้าบัญชีแล้ว 🤑 มีเวลาว่างห้ามพลาด ใช้เวลาว่างให้เกิดรายได้ 💐 งานPART TIME 💐 ขอคนพร้อมเริ่มงานได้เลย 🍬 นักเรียน นักศึกษา ว่างงานก็ทำได้ 🍬 งานฟังเพลง ดูคลิป จาก You Tube/Joox 📌สนใจแอด LINE : @734ppovc นะคะ
    ไม่ระบุชื่อ
     •  9 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ครม. มอบของขวัญให้ลูกจ้างแรงงาน เพิ่มเงินสงเคราะห์ลูกจ้างสูงสุด 100 เท่า จริงหรือไม่
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ รัฐบาลอนุมัติเงินเยียวยาให้กลุ่ม ที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับการเยียวยาจากมาตรการอื่นๆ ทั้งเราไม่ทิ้งกัน เยียวยาเกษตรกร เรียกว่า"เยียวยากลุ่มเปราะบาง" คนละ 3000 บาท
    รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบในหลักการตามคณะกรรมการกลั่นกรองฯและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)เสนอ ให้จ่ายเงิน "เยียวยากลุ่มเปราะบาง" จำนวน 13 ล้านคน ใน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.เด็กแรกเกิดถึง 6 ปีที่มีฐานะยากจน จำนวน 1.4 ล้านคน 2 ผู้สูงอายุ จำนวน 9.66 ล้านคน และ 3.ผู้พิการ จำนวน 2 ล้านคน ทั้งหมดรวม 13 ล้านคน
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    มุสลิมไทยได้เป็นเจ้าของบัญชีธนาคารอิสลามทุกคน สามารถกู้เงินโดยไม่ต้องใช้หนี้คืนได้
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    #อ่านค่ะเพื่อสิทธิประโยชน์ของคุณ สรุปคร่าวๆให้นะคะ แล้วก้อเซฟไว้บอกต่อๆกัน​ กับเงินช่วยเหลือ5000บาท ***วันเสาร์ 28มีนา เปิดลงทะเบียน ***เริ่มโอนเงินให้อาจจะต้นเดือนเมษา ***ใช้บัญชีธนาคารของตัวเองที่มีลงทะเบียน ***ใช้โทรสัพมือถือเข้าเวปที่กำหนดมาลงทะเบียน ***โทรสัพไม่มีเน๊ต​ใช้คอม คอมไม่มีเน๊ตใช้เพื่อนที่มีเน๊ต​ เพื่อนไม่มีเน๊ต​ ไปธนาคารของรัฐที่เค้ากำหนดมา​ ***อาชีพอิสระ​ ขายของ​ แม่บ้าน​ วินมอไซต์ งานอะไรก็แล้วแต่ที่ไม่ได้จ่ายประกันสังคมได้หมด ***ข้อมูลนายจ้างไม่ต้องลง​ อัพให้ใหม่ลืม*** ***ประกันสังคมทั้งหลาย​ไม่ได้​ แต่ก้อลองดูได้เผื่อได้เพิ่ม​ ไม่ได้ถามเพราะไม่มีประกันสังคม ***อาชีพอิสระที่อยุ่นอกประกันสังคมมีประมาน3ล้านคน​ ที่ได้สิทตรงนี้​ ไม่ต้องกัวว่าไม่ได้​ ไม่ต้องแย่งกันลงทะเบียน​ สงสัยโทรถาม ***มาตรการอื่นๆจะออกมาเรื่อยสำหรับทุกคน​ ทุกอาชีพ​ ใจเยนๆ​ ***มนุษย์ประกันสังคม​ ไม่ต้องน้อยใจ​ ประกันสังคมจ่ายคืนคุนมากกว่ามนุษย์อิสระอยู่แล้ว​ ***กรมธุรกิจกระทรวงการคลัง​ โทรถามมาแล้ว โทร​ 022739020​ ต่อ​ 3558 ***ข้อความผิดพลาดตรงไหนขออภัยด้วยค่ะ
    ไม่ระบุชื่อ
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ทางรัฐเปิดให้ลงทะเบียนโครงการเติมเงิน 10,000 ผ่าน LBC66 Wallet
    ไม่ระบุชื่อ
     •  1 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ห้ามแสกน QR codeมันเด็ดขาด !! เงินหายทันที
    เตือนภัย มีใบพวกนี้มาถึงบ้านห้ามแสกน QR codeมันเด็ดขาด !! เงินหายทันที มีน้องพยาบาลโดนมาแล้วได้รับจดหมายลงทะเบียนแล้วสแกนคิวอาร์โค้ดโดนไปแสนกว่าบาทจากบัตรเครดิต ภัยแบบใหม่ เปลี่ยนจาก call center เป็นหนังสือราชการ ถึงตัวเลย ระวัง ห้ามสแกนบาร์โค๊ตเด็ดขาด... ให้บอกคนในบ้านทุกคนด้วย อันตรายจริงๆ
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false