1 คนสงสัย
ฝุ่น PM 2.5 เป็นพาหะของเชื้อไวรัสโควิด จริงหรือ
ผศ.รุจิกาญจน์ นาสนิท อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยศิลปากร อธิบายว่า พบความสัมพันธ์ของการเสียชีวิตจากโควิด-19 และฝุ่น PM2.5 ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เนเธอแลนด์ มีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้น จริงหรือ
anonymous
 •  4 ปีที่แล้ว
meter: true
1 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)
Ad.tar เลือกให้ข้อความนี้✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด

เหตุผล

นักวิชาการชี้ ความหนาแน่นฝุ่นละอองขนาดเล็ก ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของโรคโควิด-19 เพิ่ม ร้อยละ 8 – 16.6 ทำติดเชื้อรุนแรงขึ้น

ที่มา

https://theactive.net/news/20201111-3/

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    มีข่าวการเสียชีวิตของลุกนายทหารเรือ 2 คนเสียชีวิตไล่เลี่ยกัน มีข่าวว่าเสียชีวิตเพราะติดเชื้อโควิด จริงหรือ
    เมื่อสัปดาห์ก่อนมีข่าวการเสียชีวิตของลุกนายทหารเรือ 2 คนเสียชีวิตไล่เลี่ยกัน มีข่าวว่าเสียชีวิตเพราะติดเชื้อโควิด
    std48036
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    นักวิจัยสหรัฐชี้ว่าผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 มานานกว่า 10 ปีมีโอกาสเสียชีวิตจากโควิด 19 มากกว่าคนพื้นที่อื่น
    ข้อสรุปนี้มาจากการศึกษาของนักวิจัยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่วิเคราะห์ข้อมูลค่าฝุ่นละอองอากาศในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา ใน 3,080 เขตของสหรัฐอเมริกากับจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 จนถึง 4 เมษายน เพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างมลพิษในอากาศ และผู้เสียชีวิตหรือมีอาการหนักจากโรคโควิด-19 ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติระดับประเทศที่แสดงการเชื่อมโยงระหว่างอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 และโรคอื่นๆ กับการสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว ฟรานเซส โดมิชี ศาสตราจารย์ด้านชีวสถิติ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า ผลการศึกษานี้เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่า เขตที่มีมลพิษทางอากาศมากกว่า ประชาชนเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่า รวมทั้งมีจำนวนผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเสียชีวิตมากกว่า ข้อมูลนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพิจารณาในการจัดสรรทรัพยากร นักวิจัยพบว่า ผู้ที่อยู่ในเขตที่มีฝุ่น PM 2.5 มานาน 10 ปี มีโอกาสที่จะเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มากกว่าคนที่อาศัยในพื้นที่อื่น ซึ่งสัมผัสฝุ่นน้อยกว่าแค่ 1 หน่วย 15% ตัวอย่างเช่น หากแมนฮัตตันมีค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 ในระดับที่น้อยลงกว่านี้เพียง 1 ไมโครกรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตรในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แมนฮัตตันก็จะมีผู้เสียชีวิตน้อยลงกว่าตอนนี้ 248 คน ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินการจัดสรรเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจในพื้นที่ต่างๆ ได้ ในระยะสั้น โดมิชิและผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุขกล่าวว่า ข้อค้นพบนี้บ่งบอกว่า พื้นที่อย่างเซนทรัลวาลลีย์ของแคลิฟอร์เนีย หรือเขตคูยาโฮกา รัฐโอไฮโออาจต้องเตรียมรับมือกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ระดับรุนแรงมากกว่า ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่พบว่า ผู้ที่สัมผัสกับมลพิษอากาศมาก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคซาร์สในปี 2003 นักวิจัยระบุว่า ผลการศึกษาเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อปกป้องสุขภาพของมนุษย์ทั้งระหว่างและหลังจากวิกฤตโควิด-19 อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ได้ดูข้อมูลในระดับบุคคล และไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมบางพื้นที่จึงมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากกว่าเขตอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ก็ยังไม่แน่ชัดว่าฝุ่น PM 2.5 มีบทบาทอย่างไรต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยใหญ่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในพื้นที่อื่นๆ นอกสหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่าการหายใจเอาอากาศที่สกปรกเข้าไปในช่วงชีวิตหนึ่งจะทำให้คนติดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้มากขึ้นแค่ไหน
    anonymous
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false