ไข้เลือดออกเกิดจาก “ไวรัสเดงกี” มียุงลายเป็นพาหะของโรค พบมากในฤดูฝน
เช็กอาการ
– ไข้สูงเฉียบพลัน
– จุดแดงขึ้นตามลำตัว ผิวหนัง หรือถ่ายอุจจาระสีดำ
– ตับโต กดแล้วจะเจ็บใต้ชายโครงขวา
– อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
หากมีอาการเหล่านี้ ให้รีบพบแพทย์
เตรียมพร้อมรับมือ
– กินยาลดไข้ และหมั่นเช็ดตัว
– ห้ามกินยาประเภท แอสไพริน และไอบูโพรเฟน
– ดื่มน้ำ หรือเกลือแร่ กินอาหารย่อยง่าย
– หากมีอาการปวดท้อง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รีบนำส่ง รพ. ทันที
การป้องกัน
– ป้องกันยุงกัด สวมเสื้อผ้ามิดชิด นอนในมุ้ง ทายากันยุง
– ป้องกันการเกิดยุง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
หลีกเลี่ยงก่อนเกิดยุง
1. ปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้า ตาข่ายไนล่อน อะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิด จนยุงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ได้
2. หมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ซึ่งเหมาะสำหรับภาชนะเล็ก ๆ ที่มีน้ำไม่มากนัก เช่น แจกันดอกไม้สด ทั้งที่เป็นแจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ หรือแจกันประดับตามโต๊ะ รวมทั้งภาชนะและขวดประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เลี้ยงต้นพลูด่าง ฯลฯ
3. ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ ใส่ให้ลึกประมาณ 3 ใน 4 ของความลึกของจานกระถางต้นไม้นั้น เพื่อให้ทรายดูดซึมน้ำส่วนเกินจากการรดน้ำต้นไม้ไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับกระถางต้นไม้ที่ใหญ่และหนัก ส่วนต้นไม้เล็กอาจใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งไปทุก 7 วัน
4. การเก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด ไห กระป๋อง ฯลฯ และยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้ หรือคลุมให้มิดชิดเพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้
5. บริเวณที่ปลูกต้นไม้ หากมีต้นไม้เยอะ ๆ ก็ทำให้มียุงเยอะ เพราะยุงจะชอบเกาะพักอยู่ในที่มืด ๆ อับ ๆ ควรแก้ไขให้ดูโปร่งตาขึ้น ถ้าเป็นต้นไม้ประดับในบริเวณบ้าน ก็ต้องคอยสังเกตว่ารดน้ำมากไปจนมีน้ำขังอยู่ในจานรองกระถางหรือเปล่า พยายามเทน้ำทิ้งบ่อย ๆ
เช็กอาการ
– ไข้สูงเฉียบพลัน
– จุดแดงขึ้นตามลำตัว ผิวหนัง หรือถ่ายอุจจาระสีดำ
– ตับโต กดแล้วจะเจ็บใต้ชายโครงขวา
– อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
หากมีอาการเหล่านี้ ให้รีบพบแพทย์
เตรียมพร้อมรับมือ
– กินยาลดไข้ และหมั่นเช็ดตัว
– ห้ามกินยาประเภท แอสไพริน และไอบูโพรเฟน
– ดื่มน้ำ หรือเกลือแร่ กินอาหารย่อยง่าย
– หากมีอาการปวดท้อง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รีบนำส่ง รพ. ทันที
การป้องกัน
– ป้องกันยุงกัด สวมเสื้อผ้ามิดชิด นอนในมุ้ง ทายากันยุง
– ป้องกันการเกิดยุง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
หลีกเลี่ยงก่อนเกิดยุง
1. ปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้า ตาข่ายไนล่อน อะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิด จนยุงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ได้
2. หมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ซึ่งเหมาะสำหรับภาชนะเล็ก ๆ ที่มีน้ำไม่มากนัก เช่น แจกันดอกไม้สด ทั้งที่เป็นแจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ หรือแจกันประดับตามโต๊ะ รวมทั้งภาชนะและขวดประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เลี้ยงต้นพลูด่าง ฯลฯ
3. ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ ใส่ให้ลึกประมาณ 3 ใน 4 ของความลึกของจานกระถางต้นไม้นั้น เพื่อให้ทรายดูดซึมน้ำส่วนเกินจากการรดน้ำต้นไม้ไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับกระถางต้นไม้ที่ใหญ่และหนัก ส่วนต้นไม้เล็กอาจใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งไปทุก 7 วัน
4. การเก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด ไห กระป๋อง ฯลฯ และยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้ หรือคลุมให้มิดชิดเพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้
5. บริเวณที่ปลูกต้นไม้ หากมีต้นไม้เยอะ ๆ ก็ทำให้มียุงเยอะ เพราะยุงจะชอบเกาะพักอยู่ในที่มืด ๆ อับ ๆ ควรแก้ไขให้ดูโปร่งตาขึ้น ถ้าเป็นต้นไม้ประดับในบริเวณบ้าน ก็ต้องคอยสังเกตว่ารดน้ำมากไปจนมีน้ำขังอยู่ในจานรองกระถางหรือเปล่า พยายามเทน้ำทิ้งบ่อย ๆ
หลีกเลี่ยง ป้องกัน พร้อมรับมือ ไข้เลือดออก โรคที่มาหน้าฝน | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
https://www.antifakenewscenter.com/news/activity/%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87-%e0%b8%9b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99-%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9d%e0%b8%99ไข้เลือดออกเกิดจาก “ไวรัสเดงกี” มียุงลายเป็นพาหะของโรค พบมากในฤดูฝน เช็กอาการ – ไข้สูงเฉียบพลัน – จุดแดงขึ้นตามลำตัว ผิวหนัง หรือถ่ายอุจจาระสีดำ – ตับโต กดแล้วจะเจ็บใต้ชายโครงขวา – อ่อนเพลีย เบื่ออาหา