1 คนสงสัย
ก.ล.ต. รับรองงานออนไลน์ รับสมัครผ่านบัญชีแอปพลิเคชันสีฟ้า
ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลบนช่องทางออนไลน์เรื่อง ก.ล.ต. รับรองงานออนไลน์ รับสมัครผ่านบัญชีแอปพลิเคชันสีฟ้า ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการตรวจพบข่าวสารเกี่ยวกับรับสมัครงานออนไลน์ผ่านบัญชีทวิตเตอร์ ได้รับการรับรองจาก ก.ล.ต. ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า โพสต์บนทวิตเตอร์โดยมีข้อความว่า “งานออนไลน์ได้เงินจริง มีอยู่จริง!!! ใครโดนโกงมา มาที่เราไม่ผิดหวัง รับรองจาก ก.ล.ต. / DBD” เป็นการให้ข้อมูลเชิญชวนโดยแอบอ้างว่าได้รับการรับรองจาก ก.ล.ต. ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มาจากหน่วยงานของ ก.ล.ต. ตามที่ถูกกล่าวอ้าง

ผู้ที่ได้รับข้อมูลจากบัญชีแอปพลิเคชันดังกล่าวอาจเข้าใจผิดว่า มีความเกี่ยวข้องกับ ก.ล.ต. และอาจเกิดความเสียหายตามมาได้ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก ก.ล.ต. สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.sec.or.th หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SEC Help Center โทรศัพท์ 1207
std48872
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ดื่มน้ำตอนเล่นมือถือ
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต . ตามที่มีข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับเรื่องห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีผู้ส่งต่อข้อมูลว่า ห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า คลิปที่มีการเผยแพร่ต่อ ๆ กันดังกล่าว เป็นเพียงการแสดงเท่านั้น เพราะหากถูกไฟดูดจริง จะต้องมีการสะบัดมือที่จับโทรศัพท์ หรือร่างกายต้องกระตุกจากการโดนไฟช็อต รวมทั้งกระแสไฟจะต้องครบวงจรก่อน ซึ่งไม่ต้องรอถึงขั้นดื่มน้ำก็สามารถที่จะโดนไฟดูดได้แล้ว . ทั้งนี้ การเสียชีวิตโดยที่มีกระแสไฟวิ่งเข้าหัวใจหลังจากดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ซึ่งการเสียชีวิตดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับวัสดุที่มีแรงดันไฟฟ้ามาอยู่ใกล้กับอวัยวะในร่างกายที่ค่อนข้างบอบบาง เช่น หู แก้ม เป็นต้น . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.nectec.or.th/ หรือ โทร. 02-564-6900 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเสียชีวิตโดยที่มีกระแสไฟวิ่งเข้าหัวใจหลังจากดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ซึ่งการเสียชีวิตดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับวัสดุที่มีแรงดันไฟฟ้ามาอยู่ใกล้กับอวัยวะในร่างกายที่ค่อนข้างบอบบาง เช่น หู แก้ม เป็นต้น . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    std48339
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! เล่นมือถือนาน ๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป
    ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเล่นมือถือนานๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการเตือนภัยว่าการเล่นมือถือเป็นระยะเวลานาน จนทำให้พักผ่อนน้อย ส่งผลให้ปลายประสาทที่เลี้ยงใบหน้าอักเสบ หน้าผิดรูป ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า การพักผ่อนน้อย หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก และปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทจะทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือมีลักษณะขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ยิ้มไม่ขึ้น มักเป็นใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง สาเหตุการเกิดมีหลายปัจจัย เช่น เกิดตามหลังอุบัติเหตุบริเวณเส้นประสาทโดยตรง, การติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลายใกล้ๆเส้นประสาท, การพบเนื้องอกกดเบียดเส้นประสาท หรือเกิดจากการอักเสบของตัวเส้นประสาทเอง (Bell’s palsy) เป็นต้น สำหรับภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือ Bell’s palsy นั้น การอักเสบของเส้นประสาทดังกล่าวเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้มีสาเหตุที่สรุปได้ชัดเจน แต่อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเริม หรืองูสวัด ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดขึ้นเร็วระยะเวลาภายใน 48 ชั่วโมง เช่นกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง ขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก รับประทานอาหารและดื่มน้ำลำบาก ร่วมกับอาจมีอาการหูข้างนั้นได้ยินเสียงก้องกว่าปกติ รับรสผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีอาการผิดปกติที่สงสัยภาวะดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ โดยการรักษาโรคนี้ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในช่วงแรกที่มีอาการ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวดีขึ้น ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าในระยะยาว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆและเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ การพักผ่อนน้อย ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข AFNCAFNCTHAILANDข่าวปลอมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหน้าเบี้ยวเล่นมือถือโทรศัพท์มือถือ ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง website 2378 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 16:30 น. website 2374 ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 13:30 น. ข่าวล่าสุด website 2384 ข่าวปลอม อย่าแชร์! ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือน การเงิน-หุ้น website 2383 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2382 สธ. เปิดตัวรถฟอกไตเคลื่อนที่นวัตกรรมต้นแบบคันแรกของไทย จริงหรือ? นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2381 ข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท การเงิน-หุ้น website 2380 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมพัฒนาธุรกิจฯ รับสมัครพนักงานนำเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วัน นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร เมนูหลัก หน้าแรก แจ้งเบาะแสข่าวและติดตาม คลังความรู้ ข่าวสาร ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน เกี่ยวกับการใช้งาน ตัวช่วยเหลือในการเข้าถึงเว็บไซต์ นโยบายรักษาความลับข้อมูลส่วนตัว line facebook twiter twiter twiter call สายด่วน : 1111 ต่อ 87 Logo Copyright © 2023 ANTI-FAKE NEWS CENTER THAILAND ขออนุญาตใช้คุกกี้เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอ
    สุริยนต์ พักแดงพันธ์
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    รัฐเตรีมแจก1000เพื่อช่วยเหลือประชาชน
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ รัฐฯ เตรียมโอนเงิน 1,000 ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง . ตามที่มีการส่งต่อข้อความในประเด็นเรื่องรัฐฯ เตรียมโอนเงิน 1,000 ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . กรณีที่มีส่งต่อเรื่องราวโดยระบุว่า รัฐฯ เตรียมโอนเงินช่วยเหลือคนละ 1,000 บาท สำหรับกลุ่มเปราะบาง เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ โอนให้พร้อมกันทั่วประเทศ 9 มิ.ย. 66 นี้ ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า เป็นข่าวสารที่เชื่อถือไม่ได้ และไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายดังที่ในคลิปวิดีโอกล่าวถึงแต่อย่างใด . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.mof.go.th หรือโทร. 1689 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายดังที่ในคลิปวิดีโอกล่าวถึงแต่อย่างใด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวนโยบายรัฐ #รัฐแจกเงิน #แจกเงิน1000บาท #โอนเงินสด
    std48123
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ .
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ . ตามที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อโซเชียลเกี่ยวกับประเด็นไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อความบนสื่อโซเซียลโดยระบุไลน์ขอยืมเงินจากบุคคลมีชื่อเสียง เจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับสูง ทางสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไลน์ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งข้อความขอยืมเงิน,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่งข้อความขอรับเงินบริจาคทำบุญสร้างห้องน้ำสาธารณะ,ไลน์รมว.ศึกษาธิการ ส่งข้อความขอยืมเงิน,ไลน์นายกเทศมนตรี จ.ยะลา ส่งข้อความขอยืมเงิน และไลน์ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่งข้อความขอยืมเงิน ไลน์ดังกล่าวเป็นของมิจฉาชีพทั้งหมด ที่แอบอ้างใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐ และที่มีการแอบอ้างใช้ชื่อรูปภาพของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐระดับสูง ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและหลงเชื่อ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.opsmoac.go.th/ หรือโทร 0-2281-5884 ,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://web.parliament.go.th หรือโทร 0-2242-5900 ,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://ops.moe.go.th/ หรือโทร 02-628-6346 ,เทศบาลนครยะลา สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://yalacity.go.th/intro/?v=1 หรือโทร 073-223666 และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.m-society.go.th/ หรือโทร 1300 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไลน์ดังกล่าวเป็นของมิจฉาชีพ ที่แอบอ้างใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐ และที่มีการแอบอ้างใช้ชื่อรูปภาพของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและหลงเชื่อ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ,เทศบาลนครยะลา และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ไลน์ปลอม #แอบอ้าง #มิจฉาชีพ
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ไทยเตรียมหุ้นร่วง หลังพบ ก.ล.ต. อาจจะมีส่วนช่วยคดีหุ้น ITV
    ตามที่มีกระแสข่าวสารบนช่องทางออนไลน์เรื่องไทยเตรียมหุ้นร่วง หลังพบ ก.ล.ต. อาจจะมีส่วนช่วยคดีหุ้น ITV ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการตรวจพบข่าวสารเกี่ยวกับไทยเตรียมเจอหุ้นร่วงลงเหว หลังพบ ก.ล.ต. อาจจะมีส่วนช่วยคดี ITV ทำให้ความเชื่อมั่น น่าเชื่อถือ หายวับ ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นจริง ทั้งนี้ ในช่วงเช้าของวันที่ 15 มิถุนายน 2566 มีเหตุการณ์ที่ระบบการค้นหาข้อมูลบริษัทจดทะเบียนล่ม ซึ่งเกิดจากการมีผู้เข้าใช้งานเป็นจำนวนมาก โดย ก.ล.ต. ได้ดำเนินการเฝ้าติดตามและแก้ไขอย่างเร่งด่วน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามมาตรฐานการดูแลระบบ เพื่อให้สามารถให้บริการได้ โดยในบางช่วงจำเป็นต้องมีการปิดกั้นการให้บริการ เพื่อมิให้กระทบกับระบบงานอื่น ๆ โดยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ส่งผลหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เผยแพร่แต่อย่างใด ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบได้ว่าไฟล์ข้อมูลมิได้ถูกเปลี่ยนแปลง โดยใช้วิธีทดสอบตามหลักสากล
    std46582
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    หูอื้อ ปวดตึงคอและบ่าเป็นสัญญานเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ หูอื้อ ปวดตึงคอและบ่า เป็นสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ . ตามที่มีคำแนะนำเผยแพร่บนสื่อออนไลน์เรื่องหูอื้อ ปวดตึงคอและบ่า เป็นสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อความที่ปรากฏนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . กรณีที่มีผู้โพสต์คลิปวิดีโอให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับคนที่มีอาการปวดตึงคอ บ่า หูอื้อ และมีเสียงในหูคือสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะ มึนงงได้ แต่อาจมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เวียนศีรษะได้เช่นกัน เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อากาศร้อน ความเครียด การทำงานหนัก เป็นต้น . ส่วนการปวดตึงคอ บ่า หูอื้อ มีเสียงในหู ง่วงทั้งวันแต่นอนไม่ค่อยหลับ วิตกกังวล ประสาทตาเสื่อม ไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือ โทร. 02-306-9899 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะ มึนงงได้ ส่วนอาการปวดตึงคอและบ่า หูอื้อ ไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
    std48339
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย่าเชื่อ! รักษา "มะเร็งระยะสุดท้าย" ด้วยการดื่มน้ำปั่นผักจิงจูฉ่าย
    กรณีที่มีผู้โพสต์แนะนำผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายให้รักษาด้วยการดื่มน้ำปั่นผักจิงจูฉ่าย ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผักจิงจูฉ่ายช่วยรักษามะเร็งระยะสุดท้ายในมนุษย์ได้ โดยผักจิงจูฉ่าย (Artemisia lactiflora) เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศจีนนิยมนำมาใช้ปรุงอาหารอุดมไปด้วยวิตามิน ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สารเบต้าแคโรทีน ไรโบฟลาวิน และแอสคอบิกแอซิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ในระดับห้องทดลอง และปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา ซึ่งทั้งนี้การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800
    std46556
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กฟภ. ส่ง sms แจ้งมาตราการคืนเงินค่าไฟฟ้า
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมาตรการคืนเงินค่าไฟฟ้าเกิน จากการประมวลผลผิดพลาด . ตามที่มีการเผยแพร่เรื่อง กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมาตรการคืนเงินค่าไฟฟ้าเกิน จากการประมวลผลผิดพลาด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีที่มีผู้ส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับ กฟภ. แจ้งมาตรการ การคืนเงินเกินค่าไฟฟ้า เนื่องจากระบบประมวลผลผิดพลาด สำหรับผู้ได้รับ SMS แจ้งข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า กฟภ. ไม่มีนโยบายแจ้งการคืนเงินเกินค่าไฟฟ้า ธุรกรรมต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าหรือประชาชนผ่าน SMS หรือการให้แอดไลน์โดยเด็ดขาด . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pea.co.th หรือ โทร. 02-589-0100 หรือ ติดต่อ 1129 PEA Contact Center รวมถึงการไฟฟ้าในพื้นที่ . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : กฟภ. ไม่มีนโยบายแจ้งการคืนเงินค่าไฟฟ้าเกิน ธุรกรรมต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าหรือประชาชนผ่าน SMS หรือการให้แอดไลน์โดยเด็ดขาด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย
    std48339
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 7 คนสงสัย
    อย่าเชื่อ! รักษา "มะเร็งระยะสุดท้าย" ด้วยการดื่มน้ำปั่นผักจิงจูฉ่าย
    กรณีที่มีผู้โพสต์แนะนำผู้ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายให้รักษาด้วยการดื่มน้ำปั่นผักจิงจูฉ่าย ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผักจิงจูฉ่ายช่วยรักษามะเร็งระยะสุดท้ายในมนุษย์ได้ โดยผักจิงจูฉ่าย (Artemisia lactiflora) เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศจีนนิยมนำมาใช้ปรุงอาหารอุดมไปด้วยวิตามิน ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สารเบต้าแคโรทีน ไรโบฟลาวิน และแอสคอบิกแอซิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ในระดับห้องทดลอง และปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา ซึ่งทั้งนี้การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผักจิงจูฉ่ายช่วยรักษามะเร็งระยะสุดท้ายในมนุษย์ได้
    std46777
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ . ตามที่มีการบอกต่อข้อความเกี่ยวกับเรื่องลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เล็บรอยขาวพระจันทร์เสี้ยวพบได้เป็นปกติของเล็บนิ้วมือ ในกรณีที่เป็นโรคไตวาย โรคตับแข็ง โรคหัวใจวาย อาจจะพบว่ามีเล็บขาวเป็นบางส่วนได้ แต่ไม่
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ . ตามที่มีการบอกต่อข้อความเกี่ยวกับเรื่องลักษณะพระจันทร์เสี้ยวในเล็บมือสามารถบอกโรคได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เล็บรอยขาวพระจันทร์เสี้ยวพบได้เป็นปกติของเล็บนิ้วมือ ในกรณีที่เป็นโรคไตวาย โรคตับแข็ง โรคหัวใจวาย อาจจะพบว่ามีเล็บขาวเป็นบางส่วนได้ แต่ไม่ใช่ลักษณะพระจันทร์เสี้ยวแบบนี้ . เล็บที่เป็นสัญญาณบอกโรคคือ เล็บที่มีความหนาหรือบางผิดปกติ เล็บเปลี่ยนสี ผิวหนังรอบเล็บบวมแดง ปลายเล็บร่น และเล็บที่มีพื้นผิวขรุขระ ส่วนเล็บสุขภาพดี คือเล็บที่มีสีออกชมพูจาง ๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ มีพื้นผิวเรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรง และเล็บมีความหนาไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป . ทั้งนี้ ควรหมั่นสำรวจตัวเองบ่อย ๆ หากมีความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดเล็บอยู่เสมอ . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 590 6000 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ลักษณะรอยขาวพระจันทร์เสี้ยว เป็นปกติของเล็บนิ้วมือ ส่วนกรณีที่เป็นโรคไตวาย โรคตับแข็ง โรคหัวใจวาย อาจจะพบว่ามีเล็บขาวเป็นบางส่วนได้ แต่ไม่ใช่ลักษณะพระจันทร์เสี้ยว . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวสุขภาพ #เล็บมือ #โรค #นิ้วมือ
    std48123
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false