1 คนสงสัย
ข้าวสุกแช่เย็นดีจริงมั้ย
moopai.011
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ข้าวสุกแช่เย็น
    ขอชี้แจงว่าการวิจัยดังกล่าวเป็นการทดลองในหนู โดยพบว่าข้าวสุกแช่เย็นจะเกิดการเปลี่ยนโครงสร้างของแป้ง ทำให้แป้งทนต่อการย่อยในกระเพาะหนูเพิ่มขึ้นจริง แต่ยังไม่ได้มีการทดลองในมนุษย์อย่างเป็นระบบ ซึ่งจำเป็นต้องมีการควบคุมระดับอุณหภูมิ วิธีการเก็บรักษา และพันธุ์ข้าวที่นำมาทดลอง ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นจากนักโภชนาการระบุว่า แม้จะส่งผลในลักษณะเดียวกันในมนุษย์ ข้าวที่หุงสุกแล้วแช่เย็น จะทำให้ปริมาณ Resistant Starch เพิ่มขึ้นและเมื่อนำมาอุ่นจะทำให้ปริมาณ RS ลดลงไปได้บ้าง และปริมาณ RS จะยังขึ้นอยู่กับพันธ์ุข้าวด้วย โดยข้าวแข็ง (แอมิโลสสูง) จะมีปริมาณ RS มากกว่า มีแนวโน้มให้ประโยชน์เหมือนไฟเบอร์ ก็อาจไม่ได้ส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญมากพอต่อผู้มีปัญหาการควบคุมน้ำหนัก หรือควบคุมระดับน้ำตาล รวมไปถึงคอเลสเตอรอลในเลือด อีกทั้งยังต้องกินข้าวแบบแช่เย็นนั้น โดยห้ามนำมาอุ่นซ้ำก่อน จึงไม่สะดวกหรือไม่น่ารับประทาน
    nattikasaunsawatsuga
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข้าวสุกแช่เย็น
    เพราะยิ่งหุงสุกนำไปแช่เย็นนอกจากสรรพคุณยังคงตัวเหมือนเดิม ที่เพิ่มขึ้นกว่านั้นคือ ยิงกินยิ่งผอม ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน แถมลดอาการเสี่ยงโรคร้ายอย่างมะเร็งได้อีกด้วย โดยอาหารประเภทแป้งสามารถจำแนกแบ่งประเภทหลากหลาย อาทิ ขนมปัง เส้นก๊วยเตี๋ยว สปาเก็ตตี้ และ ข้าว เป็นต้น แป้งของเหล่านี้เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วร่างกายจะทำปฏิกิริยาย่อยเป็นโมเลกุลน้ำตาล จากนั้นเข้าสู่กระบวนการดูดซึมสู่กระแสเลือด ทว่าจะมีแป้งบางส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายและดูดซึมในลำไส้เล็กของมนุษย์ คือ Resistant starch (Rs) แป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ หรือ สตาร์ชที่ให้พลังงานต่ำ ส่งผลให้มีคุณสมบัติเทียบเท่าเส้นใยอาหาร สามารถผ่านเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่และถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไขมันสายสั้นๆ ที่เอื้อต่อการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ ช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ผนังลำไส้ใหญ่ ผลจากการย่อยที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณพลังงานในระดับต่ำกว่าปกติ หรือทำหน้าที่คล้ายกับใยอาหาร ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ซึ่งแป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์หรือสตาร์ชที่ให้พลังงานต่ำ ได้แก่พืชตระกูลถั่วต่างๆ กล้วย มันฝรั่ง พาสต้า ขนมปัง และ อาหารหลักของประเทศไทยเรา อย่าง “ข้าว” ซึ่งจากการวิจัยกลุ่มแบ่งข้าวเป็นสามประเภทคือ ข้าวหุงสุกใหม่ ข้าวหุงสุกที่ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 10 ชั่วโมง และข้าวหุงสุกที่นำไปแช่ตู้เย็น (4องศาเซลเซียส) 24 ชั่วโมง แล้วค่อยอุ่นรับประทาน พบว่าข้าวที่ผ่านการแช่ตู้เย็นมานั้นส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าข้าวหุงสุกใหม่ ร่างกายจะได้รับสารอาหารของ RS มากกว่า ผู้ที่รับประทานข้าวข้าวหุงสุกใหม่ๆ นั้นเอง
    Klamongkhon Klinhom
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false