ตามที่มีข้อมูลแนะนำด้านสุขภาพเกี่ยวกับประเด็นเรื่องกินเผ็ดเพิ่มระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้ผอมเร็ว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีที่มีการแชร์ต่อ ๆ กันในสื่อออนไลน์ว่า การกินเผ็ดจะเป็นการเพิ่มระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้ผอมเร็วขึ้นจากสารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริก ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่ากินพริกทำให้น้ำหนักลงได้ ซึ่งการกินพริกปริมาณมาก ๆ เพื่อหวังลดน้ำหนักหรือเล่นเร่งเผาผลาญไม่ควรทำ เพราะสารแคปไซซินในพริกทำให้ระคายเคืองเยื่อบุต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มการหลั่งกรดอาจจะทำให้แสบท้องท้องอืดและปวดท้องอีกด้วย
โดยพริกเป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อนเนื่องจากมีสาระสำคัญ คือ แคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งเป็น Pungent agent ทำให้ระคายเคืองและแสบร้อน ปัจจุบันมีการนำสารสกัดแคปไซซินจากพริกมาใช้ประโยชน์ เช่น นำมาผลิตเป็นยาทาเฉพาะที่สำหรับบรรเทาอาการปวด บางสูตรตำรับพัฒนาเป็นลักษณะพลาสเตอร์ปิดทับผิวหนังซึ่งจะใช้ความเข้มข้นของสารแคปไซซินอยู่ที่ 0.025% - 0.25% และสารแคปไซซินยังถูกนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมบรรจุในรูปแบบแคปซูลสำหรับรับประทานโดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มการเผาผลาญอีกด้วย แต่ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยยืนยันว่าช่วยลดน้ำหนักได้ประกอบกับแคปไซซินที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นสารสกัดจากพริกและปริมาณที่ใช้ในการศึกษาเป็นปริมาณที่มากกว่าปริมาณที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร
กรณีที่มีการแชร์ต่อ ๆ กันในสื่อออนไลน์ว่า การกินเผ็ดจะเป็นการเพิ่มระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้ผอมเร็วขึ้นจากสารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริก ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่ากินพริกทำให้น้ำหนักลงได้ ซึ่งการกินพริกปริมาณมาก ๆ เพื่อหวังลดน้ำหนักหรือเล่นเร่งเผาผลาญไม่ควรทำ เพราะสารแคปไซซินในพริกทำให้ระคายเคืองเยื่อบุต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มการหลั่งกรดอาจจะทำให้แสบท้องท้องอืดและปวดท้องอีกด้วย
โดยพริกเป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อนเนื่องจากมีสาระสำคัญ คือ แคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งเป็น Pungent agent ทำให้ระคายเคืองและแสบร้อน ปัจจุบันมีการนำสารสกัดแคปไซซินจากพริกมาใช้ประโยชน์ เช่น นำมาผลิตเป็นยาทาเฉพาะที่สำหรับบรรเทาอาการปวด บางสูตรตำรับพัฒนาเป็นลักษณะพลาสเตอร์ปิดทับผิวหนังซึ่งจะใช้ความเข้มข้นของสารแคปไซซินอยู่ที่ 0.025% - 0.25% และสารแคปไซซินยังถูกนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมบรรจุในรูปแบบแคปซูลสำหรับรับประทานโดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มการเผาผลาญอีกด้วย แต่ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยยืนยันว่าช่วยลดน้ำหนักได้ประกอบกับแคปไซซินที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นสารสกัดจากพริกและปริมาณที่ใช้ในการศึกษาเป็นปริมาณที่มากกว่าปริมาณที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร