นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ .....ความเห็นของหมอสันต์ ที่ให้คำแนะนำ ในฐานะแพทย์ประจำครอบครัวว่า
1. เกิดเป็นผู้ชายหากอายุมาก (เกิน 75 ปี) และอยู่สุขสบายดี ไม่ต้องไปตรวจ PSA
2. หากเผลอตรวจ PSA ไปแล้ว พบว่า ได้ค่าสูงแต่อยู่สุขสบายดี ยังฉี่ออก และอั้นฉี่ได้ ก็ไม่ต้องไป ตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก
3. หากเผลอไปตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไป และยืนยันว่า เป็นมะเร็งแล้ว โดยที่ยังอยู่สบายดีฉี่ออกอยู่ ก็ไม่ควรไปตรวจการแพร่กระจาย (bone scan, MRI)
4. หากเผลอไปตรวจการแพร่กระจายแล้วไม่ว่า ผลจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ต้องเดินหน้ารักษามะเร็ง ด้วยผ่าตัดฉายแสง หรือฮอร์โมนบำบัด
หรือเคมีบำบัด
คำแนะนำข้อ 1 และ 2 นั้น เป็นไปตามคำแนะนำล่าสุดของ คณะกรรมการป้องกันโรคของรัฐบาลสหรัฐฯ (USPSTF) ว่า เกิดเป็นชาย ที่อยู่มาได้ถึง อายุ 75 ปีแล้ว อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน โดยการเที่ยวตรวจ PSA เพราะผลที่ได้ออกมา จะนำไปสู่การตรวจ และการรักษาที่ไม่จำเป็นต่างๆ นานา โดยที่เมื่อเทียบกับ คนที่อยู่นิ่งๆ อยู่เปล่าๆ โดยไม่แกว่งเท้าหาเสี้ยนแล้ว อัตราตายจากมะเร็งต่อมลูกหมาก โหลงโจ้งแล้วก็ ไม่แตกต่างกัน
ส่วนคำแนะนำ ข้อที่ 3 และ 4 นั้น เป็นผลจากการใช้ดุลพินิจเทียบประโยชน์ และความเสี่ยงของการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ในคนแก่อายุ 84 ปี กล่าวคือ ในการจะรักษา ด้วยวิธีการรุนแรง รุกล้ำทั้งหลาย วงการแพทย์ มุ่งประโยชน์ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ในสองอย่างคือ
(1) ความยืนยาวของชีวิต
(2) คุณภาพชีวิต
หากทำไปแล้ว ไม่ได้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้ การรักษานั้น เรียกว่าเป็นการรักษา ไร้ประโยชน์ (futile treatment) ซึ่งตามหลักจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ แพทย์ ไม่พึง ให้การรักษาที่ไร้ประโยชน์แก่คนไข้
ข้อมูลการแพทย์ปัจจุบัน
พิสูจน์ ไม่ได้ว่า การรักษา มะเร็งต่อมลูกหมาก ที่แพทย์ทำไปสารพัดนั้น จะยืดอายุคนป่วยให้ยืนยาวออกไปได้จริง หรือเปล่า แปลไทย ให้เป็นจีน ก็คือ รักษา ไม่รักษา ก็แปะเอี้ย คือ ตายในเวลาเท่าๆ กัน เพราะทุกวันนี้
วงการแพทย์ยังไม่ทราบเลยว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมากนี้ ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติ (natural course) มันจะเป็นอย่างไร ถ้ายังไม่รู้เลยว่า ปล่อยโรคไว้ จะเป็นอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า การเข้าไปรักษา ผ่าตัด คีโม ฉายแสง จะดีกว่าโรคปล่อยไว้ จริงแมะ ดังนั้นมะเร็งต่อมลูกหมากนี้ จะใช้หลักคิดแบบมะเร็งที่อื่น
ที่ว่า ตรวจวินิจฉัยได้เร็ว รักษาได้เร็ว อัตราการหายสูงนั้น ใช้ไม่ได้
งานวิจัยเรื่องนี้ที่ดีที่สุดชื่อ PIVOT study ซึ่งเอาคนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก มา 695 คน จับฉลาก แบ่งเป็นสองพวก
พวกแรกผ่าตัดรักษาไปตามสูตร
พวกที่สองทิ้งไว้ ไม่ทำอะไรเลย
แล้วตามดูไป 10 ปี พบว่า พวกที่ทำผ่าตัด เกิดมะเร็ง ขยายตัว และแพร่กระจายน้อยกว่าพวกไม่ทำ อย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราการรอดชีวิต (length of life) ของทั้งสองพวก ซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการรักษา กลับพบว่า ไม่ต่างกันเลย
ส่วนเรื่องประโยชน์ ในด้านคุณภาพชีวิตนั้น
คุณพ่อของคุณ ตอนนี้
ฉี่ได้ อั้นได้ นี่เรียกว่า มีคุณภาพชีวิตที่สุดยอดแล้ว การรักษา มีแต่จะทำให้คุณภาพชีวิตที่ดี ๆ อยู่นี้ แย่ลง ต้องเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาล ยังไม่นับถึงที่จะโดน พิษของรังสี และของยาอีก
เมื่อความยืนยาวของชีวิต ก็ไม่ได้ คุณภาพชีวิต ก็มีแต่จะขาดทุน
แล้วจะรักษา ไปทำพรือ
ละครับ
คำแนะนำของผม อาจไม่เหมือนกับของหมอคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา คำแนะนำของผม เกิดจากการชั่งน้ำหนักหลักฐานวิทยาศาสตร์จากมุมมอง
แบบองค์รวมของแพทย์ประจำครอบครัว ย่อมแตกต่างจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ที่มองมา จากมุมของการมุ่งรักษาโรคนั้น
ให้สุดๆ กันไปเลย รู้ดี รู้ชั่ว กันไปข้างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่ง การแพทย์แผนปัจจุบันนี้ มี สองด้าน
ด้านสว่าง ก็คือ การมุ่งเอาวิทยาศาสตร์ มาช่วยรักษาคนป่วย ให้หาย
อีกด้านหนึ่ง ซึ่งผม ขอเรียกว่า เป็นด้านมืดของการแพทย์แผนปัจจุบัน ก็คือ การที่ธุรกรรมทั้งหมด มีธรรมชาติ เป็นการเสนอขายสินค้า ผม หมายถึงว่า ทั้ง การวินิจฉัย ก็ดี การตรวจ ก็ดี และการรักษา ก็ดี คือ สินค้า ที่ บริษัทยา บริษัทเครื่องมือ โรงพยาบาล ซึ่งเรา เรียกรวมๆ ว่า medical industry เป็นผู้ขาย
คุณจะต้องเรียนรู้ ที่จะใช้ประโยชน์จากด้านสว่าง แต่หลีกเลี่ยง การพลัดหลง เข้าไปสู่ด้านมืด
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
1. เกิดเป็นผู้ชายหากอายุมาก (เกิน 75 ปี) และอยู่สุขสบายดี ไม่ต้องไปตรวจ PSA
2. หากเผลอตรวจ PSA ไปแล้ว พบว่า ได้ค่าสูงแต่อยู่สุขสบายดี ยังฉี่ออก และอั้นฉี่ได้ ก็ไม่ต้องไป ตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก
3. หากเผลอไปตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไป และยืนยันว่า เป็นมะเร็งแล้ว โดยที่ยังอยู่สบายดีฉี่ออกอยู่ ก็ไม่ควรไปตรวจการแพร่กระจาย (bone scan, MRI)
4. หากเผลอไปตรวจการแพร่กระจายแล้วไม่ว่า ผลจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ต้องเดินหน้ารักษามะเร็ง ด้วยผ่าตัดฉายแสง หรือฮอร์โมนบำบัด
หรือเคมีบำบัด
คำแนะนำข้อ 1 และ 2 นั้น เป็นไปตามคำแนะนำล่าสุดของ คณะกรรมการป้องกันโรคของรัฐบาลสหรัฐฯ (USPSTF) ว่า เกิดเป็นชาย ที่อยู่มาได้ถึง อายุ 75 ปีแล้ว อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน โดยการเที่ยวตรวจ PSA เพราะผลที่ได้ออกมา จะนำไปสู่การตรวจ และการรักษาที่ไม่จำเป็นต่างๆ นานา โดยที่เมื่อเทียบกับ คนที่อยู่นิ่งๆ อยู่เปล่าๆ โดยไม่แกว่งเท้าหาเสี้ยนแล้ว อัตราตายจากมะเร็งต่อมลูกหมาก โหลงโจ้งแล้วก็ ไม่แตกต่างกัน
ส่วนคำแนะนำ ข้อที่ 3 และ 4 นั้น เป็นผลจากการใช้ดุลพินิจเทียบประโยชน์ และความเสี่ยงของการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ในคนแก่อายุ 84 ปี กล่าวคือ ในการจะรักษา ด้วยวิธีการรุนแรง รุกล้ำทั้งหลาย วงการแพทย์ มุ่งประโยชน์ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ในสองอย่างคือ
(1) ความยืนยาวของชีวิต
(2) คุณภาพชีวิต
หากทำไปแล้ว ไม่ได้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้ การรักษานั้น เรียกว่าเป็นการรักษา ไร้ประโยชน์ (futile treatment) ซึ่งตามหลักจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ แพทย์ ไม่พึง ให้การรักษาที่ไร้ประโยชน์แก่คนไข้
ข้อมูลการแพทย์ปัจจุบัน
พิสูจน์ ไม่ได้ว่า การรักษา มะเร็งต่อมลูกหมาก ที่แพทย์ทำไปสารพัดนั้น จะยืดอายุคนป่วยให้ยืนยาวออกไปได้จริง หรือเปล่า แปลไทย ให้เป็นจีน ก็คือ รักษา ไม่รักษา ก็แปะเอี้ย คือ ตายในเวลาเท่าๆ กัน เพราะทุกวันนี้
วงการแพทย์ยังไม่ทราบเลยว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมากนี้ ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติ (natural course) มันจะเป็นอย่างไร ถ้ายังไม่รู้เลยว่า ปล่อยโรคไว้ จะเป็นอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า การเข้าไปรักษา ผ่าตัด คีโม ฉายแสง จะดีกว่าโรคปล่อยไว้ จริงแมะ ดังนั้นมะเร็งต่อมลูกหมากนี้ จะใช้หลักคิดแบบมะเร็งที่อื่น
ที่ว่า ตรวจวินิจฉัยได้เร็ว รักษาได้เร็ว อัตราการหายสูงนั้น ใช้ไม่ได้
งานวิจัยเรื่องนี้ที่ดีที่สุดชื่อ PIVOT study ซึ่งเอาคนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก มา 695 คน จับฉลาก แบ่งเป็นสองพวก
พวกแรกผ่าตัดรักษาไปตามสูตร
พวกที่สองทิ้งไว้ ไม่ทำอะไรเลย
แล้วตามดูไป 10 ปี พบว่า พวกที่ทำผ่าตัด เกิดมะเร็ง ขยายตัว และแพร่กระจายน้อยกว่าพวกไม่ทำ อย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราการรอดชีวิต (length of life) ของทั้งสองพวก ซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการรักษา กลับพบว่า ไม่ต่างกันเลย
ส่วนเรื่องประโยชน์ ในด้านคุณภาพชีวิตนั้น
คุณพ่อของคุณ ตอนนี้
ฉี่ได้ อั้นได้ นี่เรียกว่า มีคุณภาพชีวิตที่สุดยอดแล้ว การรักษา มีแต่จะทำให้คุณภาพชีวิตที่ดี ๆ อยู่นี้ แย่ลง ต้องเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาล ยังไม่นับถึงที่จะโดน พิษของรังสี และของยาอีก
เมื่อความยืนยาวของชีวิต ก็ไม่ได้ คุณภาพชีวิต ก็มีแต่จะขาดทุน
แล้วจะรักษา ไปทำพรือ
ละครับ
คำแนะนำของผม อาจไม่เหมือนกับของหมอคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา คำแนะนำของผม เกิดจากการชั่งน้ำหนักหลักฐานวิทยาศาสตร์จากมุมมอง
แบบองค์รวมของแพทย์ประจำครอบครัว ย่อมแตกต่างจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ที่มองมา จากมุมของการมุ่งรักษาโรคนั้น
ให้สุดๆ กันไปเลย รู้ดี รู้ชั่ว กันไปข้างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่ง การแพทย์แผนปัจจุบันนี้ มี สองด้าน
ด้านสว่าง ก็คือ การมุ่งเอาวิทยาศาสตร์ มาช่วยรักษาคนป่วย ให้หาย
อีกด้านหนึ่ง ซึ่งผม ขอเรียกว่า เป็นด้านมืดของการแพทย์แผนปัจจุบัน ก็คือ การที่ธุรกรรมทั้งหมด มีธรรมชาติ เป็นการเสนอขายสินค้า ผม หมายถึงว่า ทั้ง การวินิจฉัย ก็ดี การตรวจ ก็ดี และการรักษา ก็ดี คือ สินค้า ที่ บริษัทยา บริษัทเครื่องมือ โรงพยาบาล ซึ่งเรา เรียกรวมๆ ว่า medical industry เป็นผู้ขาย
คุณจะต้องเรียนรู้ ที่จะใช้ประโยชน์จากด้านสว่าง แต่หลีกเลี่ยง การพลัดหลง เข้าไปสู่ด้านมืด
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์