1 คนสงสัย
เมื่อเช้าได้รับโทรจาก UCEP สิทธิการรักษาฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง บอกว่าจาก สปสช ให้จองนัดใช้สิทธิ์ได้
ไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่าค่ะ กดสายทิ้งไม่แน่ใจว่าเป็นมิจฉาชีพไหม และสงสัยว่าเดี๋ยวนี้มีการโทรแจ้งรายบุคคลด้วยหรือป่าวค่ะ??
ไม่ระบุชื่อ
 •  2 ปีที่แล้ว
meter: middle
4 ความเห็น

ภาคใต้ภาคเหนือภาคอีสานภาคตะวันออก ผู้บริโภคเฝ้าระวัง

Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

เหตุผล

CEP ให้กับประชาชนทุกสิทธิการรักษา ได้แก่ สิทธิรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม กรุงเทพมหานคร ข้าราชการท้องถิ่น และหลักประกันสุขภาพแ

ที่มา

https://www.antifakenewscenter.com/นโยบา⋯ต-ใช้สิทธิ-ucep-รักษาฟรี-72-ชม-จริงหรือ/
Joke.Air เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

เหตุผล

เดิมทีผู้ติดโควิดจะได้สิทธิ UCEP ด้วย เนื่องจากเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน
ปัจจุบันโควิดไม่มีสิทธิ UCEP ยกเว้นถ้ามีอาการที่ตรงตามสิทธิ์

ที่มา

https://www.smk.co.th/newsdetail/2866
สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิที่ตัวเองมีอยู่จนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ในช่วงก่อนหน้านี้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 จะได้รับสิทธิการรักษาฉุกเฉิน UCEP ด้วย เนื่องจากถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน
ในปัจจุบัน โรคโควิด 19 ได้ถูกยกเลิกจากสิทธิ UCEP ในกรณีที่ติดโควิด 19 แล้วไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง แต่หากแพทย์วินิจฉัยให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ยังสามารถได้รับการรักษาฟรีตามสิทธิประกันสุขภาพของภาครัฐที่แต่ละคนได้รับเหมือนกับโรคอื่น ๆ หรือหากมีอาการเข้าตามนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตก็ยังสามารถเข้ารับการรักษาฟรีตามสิทธิ UCEP ได้
Joke.Air เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

เหตุผล

ไม่ต้องจองนัดใช้สิทธิ์เนื่องจากยูซีอีพีเป็นสิทธิในกรณีฉุกเฉินสามารถใช้ได้ทันทีไม่ต้องจองล่วงหน้า

ที่มา

ไม่ต้องจองนัดใช้สิทธิ์เนื่องจากยูซีอีพีเป็นสิทธิในกรณีฉุกเฉินสามารถใช้ได้ทันทีไม่ต้องจองล่วงหน้า เพียงแต่อาจจะมีขั้นตอนการตรวจสอบก่อน หากเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันที แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

UCEP (ยูเซป) หรือ Universal Coverage Emergency Patients เป็นสิทธิที่รัฐบาลทำให้ประชาชนคนไทยทุกคน ในกรณีที่เกิดภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลันหรือประสบอุบัติเหตุร้ายแรง สามารถเข้ารับบริการในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ ณ จุดเกิดเหตุที่สุดได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน สามารถรักษาได้ฟรีไม่มีค่ารักษา โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่สนับสนุนจัดทำระบบข้อมูลและการเบิกจ่ายค่าบริการรักษาพยาบาล UCEP ให้กับประชาชนทุกสิทธิการรักษา ได้แก่ สิทธิรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม กรุงเทพมหานคร ข้าราชการท้องถิ่น และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) รวมถึงสิทธิอื่น

ส่วนอาการที่เข้าข่ายภาวะฉุกเฉินวิกฤต มี 6 อาการ ดังนี้
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

สำหรับขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2. โรงพยาบาลประเมินอาการ และคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
3. ศูนย์ประสานความคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันที แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต ให้รับประสานโรงพยาบาลตามสิทธิ หากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
https://www.antifakenewscenter.com/นโยบา⋯ต-ใช้สิทธิ-ucep-รักษาฟรี-72-ชม-จริงหรือ/
  • มี 1 ความเห็น เจ้าของลบไปแล้ว.
  • เพิ่มความเห็นใหม่

    กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน