ตามที่มีข้อความข่าวสารถูกเผยแพร่เกี่ยวกับผู้บริหาร ก.ล.ต. เป็นสมาชิกทีมผู้ดูแลโทเคนดิจิทัลนั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีที่มีโฆษณาเรื่องผู้บริหาร ก.ล.ต. เป็นสมาชิกทีมผู้ดูแลโทเคนดิจิทัล ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ด้วยมีการเผยแพร่ภาพผู้บริหาร ก.ล.ต. พร้อมด้วยโลโก้ สำนักงาน ก.ล.ต. และอ้างว่า เป็นสมาชิกทีมผู้ดูแลโทเคนดิจิทัลนั้นไม่ได้มาจากหน่วยงานแต่อย่างใด
ทั้งนี้ มีคำแนะนำเกี่ยวกับจุดสังเกตที่ต้องระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 6 ข้อดังนี้
1. เสนอผลตอบแทนสูงเกินจริง เร่งรัดให้ตัดสินใจลงทุน
2. คำโฆษณาชักชวนว่า ไม่มีความรู้ก็ลงทุนได้
3. อ้างสัญลักษณ์ ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือสมาคมที่เกี่ยวกับการลงทุน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
4. แอบอ้างรูปดารา คนดัง หรือผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่
5. ชื่อผู้รับโอนใช้ชื่อบัญชีส่วนตัว
6. ปลอมแปลงใบอนุญาต/อ้างชื่อ/ตั้งชื่อให้ใกล้เคียงบริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐ
กรณีที่มีโฆษณาเรื่องผู้บริหาร ก.ล.ต. เป็นสมาชิกทีมผู้ดูแลโทเคนดิจิทัล ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ด้วยมีการเผยแพร่ภาพผู้บริหาร ก.ล.ต. พร้อมด้วยโลโก้ สำนักงาน ก.ล.ต. และอ้างว่า เป็นสมาชิกทีมผู้ดูแลโทเคนดิจิทัลนั้นไม่ได้มาจากหน่วยงานแต่อย่างใด
ทั้งนี้ มีคำแนะนำเกี่ยวกับจุดสังเกตที่ต้องระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 6 ข้อดังนี้
1. เสนอผลตอบแทนสูงเกินจริง เร่งรัดให้ตัดสินใจลงทุน
2. คำโฆษณาชักชวนว่า ไม่มีความรู้ก็ลงทุนได้
3. อ้างสัญลักษณ์ ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือสมาคมที่เกี่ยวกับการลงทุน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
4. แอบอ้างรูปดารา คนดัง หรือผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่
5. ชื่อผู้รับโอนใช้ชื่อบัญชีส่วนตัว
6. ปลอมแปลงใบอนุญาต/อ้างชื่อ/ตั้งชื่อให้ใกล้เคียงบริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐ