1 คนสงสัย
กัญชาสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ไหม
การศึกษาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยการเสพติดของ University of Bufflo พบว่าสารประกอบทางเคมีในสมองที่เรียกว่า Endocannabinoids ซึ่งเชื่อมโยงกับความรู้สึกของมนุษย์ สามารถถูกกระตุ้นจากสารประกอบที่ใช้งานอยู่ในกัญชา ในการทดสอบ นักวิจัยพบว่าคนไข้กลุ่มที่มีความเครียดเรื้อรัง จะมีการผลิต endocannabinoids ต่ำกว่าสภาวะปกติ ดังนั้นการเสริมสารสำคัญตัวเดียวกันนี้จากพืชกัญชา อาจเป็นวิธีการรักษาที่มีประโยชน์ในการฟื้นฟูการทำงานของเอนโดแคนนาบินอยด์ตามปกติและบรรเทาอาการซึมเศร้า
Klamongkhon Klinhom
 •  2 ปีที่แล้ว
meter: middle
1 ความเห็น

ยาสมุนไพร

Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

เหตุผล

จากการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์โดย University Of New Mexico และ Releaf App ใน Yale Journal of Biology and Medicine พบว่ากัญชามีประสิทธิภาพในการบร

ที่มา

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    กัญชารักษาโรคซึมเศร้าได้จริงไหม?
    ในปัจจุบัน กัญชาถูกพูดถึงมากขึ้นในแง่ของสรรพคุณทางยา และหนึ่งในโรคที่หลายคนสงสัยว่ากัญชาจะช่วยรักษาได้คือ โรคซึมเศร้า แต่ความจริงแล้ว กัญชาช่วยรักษาโรคซึมเศร้าได้จริงหรือไม่? ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า กัญชาไม่ได้เป็นยาที่รักษาโรคซึมเศร้าได้โดยตรง แต่สาร CBD ที่อยู่ในกัญชา มีศักยภาพในการช่วยบรรเทาอาการบางอย่าง เช่น ความวิตกกังวล การนอนไม่หลับ และอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.rama.mahidol.ac.th ) กัญชามีกลไกเข้าไปลดการกระตุ้นในสมอง ทำให้อาการดีขึ้นร่วมกับการนอนหลับ ส่วนการใช้กับโรคซึมเศร้า ยังไม่มีผลการวิจัยที่ชัดเจน ในทางกลับกันพบว่าอาจจะส่งผลเสียต่อการดำเนินโรค ตัวอย่างเช่น กลุ่มโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ปัญหานอนไม่หลับ ส่วนในด้านกลไกการทำงาน สันนิษฐานว่าสารในกัญชาอาจช่วยรักษาโรคซึมเศร้าได้โดยการปรับระดับสารสื่อประสาทในสมอง เช่น เซโรโทนินและโดปามีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความสุขนั่นเอง (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://suicide.dmh.go.th/abstract/details.asp?id=3607 ) ดังนั้น แม้ว่าจะมีหลักฐานบางส่วนบ่งชี้ว่ากัญชามีสารช่วยบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าได้ แต่การใช้กัญชาในการรักษาโรคซึมเศร้ายังคงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม การตัดสินใจใช้กัญชาในการรักษาควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอแพทย์จะประเมินสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
    Pongsapak Laonet
     •  3 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เข้าวัด ฟังธรรม นั่งสมาธิ รักษาโรคซึมเศร้าได้จริงหรือไม่
    ภาวะซึมเศร้าเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่ซับซ้อนและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไป การเข้าใจความแตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความเครียดทั่วไปจึงเป็นสิ่งสำคัญ ภาวะเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การอกหัก อาจทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าและเบื่อหน่ายได้ชั่วคราว แต่โดยทั่วไปแล้วอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ทุเลาลงเมื่อเวลาผ่านไป และสามารถจัดการได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ การพูดคุยกับผู้อื่น หรือการฝึกสติ อย่างไรก็ตาม ภาวะซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่มีเกณฑ์การวินิจฉัยที่ชัดเจน โดยผู้ป่วยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการจาก 9 อาการหลัก เช่น อารมณ์เศร้า เบื่อหน่าย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินและการนอนหลับ ความรู้สึกผิดหวังกับตนเอง และความคิดอยากทำร้ายตนเอง เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ภาวะซึมเศร้าสามารถแบ่งและการประเมินระดับความรุนแรงของอาการ การประเมินอาการซึมเศร้าจะช่วยให้ทราบว่าอาการของแต่ละบุคคลรุนแรงมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม โดยทั่วไปแล้ว อาการซึมเศร้าจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับน้อย: ผู้ป่วยจะมีอาการบางส่วนที่ตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัย แต่ยังสามารถทำงานและดำเนินชีวิตประจำวันได้ ระดับปานกลาง: ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น ทำให้การทำงานและการเข้าสังคมเป็นไปด้วยความยากลำบาก ระดับรุนแรง: ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากที่สุด อาจมีอาการหลงผิด ประสาทหลอน และมีความคิดทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น การรักษาเศร้าเล็กน้อย ปานกลาง และรุนแรง ซึ่งแต่ละระดับจะมีความรุนแรงของอาการและผลกระทบต่อชีวิตประจำวันแตกต่างกันไป สำหรับผู้ที่มีอาการซึมเศร้าระดับเบาถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการฝึกสติอาจช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนให้เพียงพอ และการฝึกการรับรู้ถึงความรู้สึกในปัจจุบัน ในพาร์ทของ การให้คำปรึกษาและการทำจิตบำบัดนั้น มีหลากหลายแนวทางที่แตกต่างกันออกไป หนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจคือ การให้คำปรึกษาที่อิงหลักการใช้สติ (Mindfulness-based therapy) ซึ่งเป็นการนำหลักการของการฝึกสติและสมาธิมาประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือคนไข้ อย่างไรก็ตาม การให้คำปรึกษาที่เน้นใช้สติบำบัดนี้เป็นเพียงหนึ่งในทางเลือกที่หลากหลายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากอาการซึมเศร้ามีความรุนแรงมากขึ้น การใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์และการเข้ารับการบำบัดทางจิตวิทยาเป็นสิ่งจำเป็น โดยการรักษาภาวะซึมเศร้าขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิธีการรักษาที่พบบ่อย ได้แก่ การใช้ยา: ยาต้านเศร้าช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า การทำจิตบำบัด: ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจและจัดการกับความคิดและอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม: เช่น การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษา: การพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไข สำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาภาวะซึมเศร้า ขั้นตอนแรกที่สำคัญคือการประเมินระดับความรุนแรงของอาการ เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้ ปัจจุบันมีเครื่องมือประเมินอาการซึมเศร้าออนไลน์มากมายที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจมีอาการซึมเศร้าสามารถทำแบบประเมินเหล่านี้เบื้องต้นได้ และหากผลออกมามีปัญหาสามารถติดต่อเครือข่ายสำหรับนักศึกษา มมส สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่เครือข่ายสุขภาพจิตมมสเบอร์ 0850104544 หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ซึ่งมีบริการตลอด 24 ชั่วโมงโดยนักจิตวิทยา แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรจะพบจิตแพทย์ ที่คลีนิคสุขภาพจิต โรงพยาบาลสุทธาเวช ภาวะซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับมามีชีวิตที่ปกติสุขได้อีกครั้ง การสังเกตอาการของตนเองและการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเมื่อมีอาการที่น่าสงสัย เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาโรคซึมเศร้า
    65011215023
     •  2 เดือนที่แล้ว
    meter: false