1 คนสงสัย
ไม่ระบุชื่อ
 •  5 เดือนที่แล้ว
meter: false
2 ความเห็น

ข่าวการเมือง เสียดสี

Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง

เหตุผล

คุณสุทธิชัย หยุ่น นักสื่อสารมวลชนชื่อดัง ก็โพสต์เกี่ยวกับคำศัพท์นี้ว่า “ศัพท์ร้อน ๆ วันละคำ วันนี้จาก ‘เศรษฐา’ ขึ้นปก Time: Shortchange: ฉ้อ

ที่มา

https://www.youtube.com/watch?v=mBRQ8Pw7pSU
Joke_Air เลือกให้ข้อความนี้❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง

เหตุผล

เนื้อหา … ของข้อความนี้มีความเข้าใจผิด หรืออาจจงใจบิดเบือน เนื่องจากแปลเฉพาะคำคำเดียว
เนื้อหา … ยังไม่ได้รับโดยเอกฉันท์จากสังคม

ที่มา

เนื้อหา … ของข้อความนี้มีความเข้าใจผิด หรืออาจจงใจบิดเบือน เนื่องจากแปลเฉพาะคำเพียงคำเดียว แล้วด่วนสรุปว่าสื่อต่างชาติได้โจมตีเศรษฐาว่าทุจริต โกงกิน ต่างๆนานา แต่จากการสืบค้นข่าวเก่าพบว่า ถึงแม้คำว่า shortchanged จะมีความหมายที่ไม่ดี แต่ประโยคเต็มๆบนหน้าปกก็ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องการคอรัปชั่น การโกงกินชาติ อย่างที่บางฝ่ายกล่าวอ้างแต่อย่างใด

https://www.youtube.com/watch?v=mBRQ8Pw7pSU
14 มี.ค. 2024 #ข่าวช่อง3 #เรื่องเล่าเช้านี้ จากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์พร้อมขึ้นปกนิตยสาร TIME โดยโปรยหน้าปกว่า “The Salesman : Thai Prime Minister Srettha Thavisin is open for business in a country that feels shortchanged by his election” เขียนโดย ชาร์ลี แคมป์เบลล์

ทำให้เมื่อวานนี้ (13 มี.ค.67) ในโซเชียลมีการถกเถียงกันหนักมาก ถึงคำว่า shortchanged ที่ถูกโปรยบนปกนิตยสาร เนื่องจากมีชาวเน็ตแสดงความคิดเห็นว่า shortchanged แปลว่า ถูกโกง ดังนั้นคำโปรยบนปกนิตยสาร ตรงประโยคที่ว่า in a country that feels shortchanged by his election จึงอาจไม่ใช่คำที่กล่าวถึงนายเศรษฐา ในแง่บวกสักเท่าไหร่

อย่างเช่น นายสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษาฮิวแมนไรต์วอตซ์ ประเทศไทย โพสต์ X ถึงคำนี้ว่า “Shortchanged คือ “ถูกโกง” (เปรียบกับการถูกโกงเงินทอน) … ความหมายที่นิตยสารไทม์สื่อถึง คือ ประชาชนรู้สึกถูกโกงเพราะไม่ได้เลือก #เศรษฐา มาเป็นนายก (แต่ก้าวไกลซึ่งเป็นพรรคที่ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่งถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล)”

คุณสุทธิชัย หยุ่น นักสื่อสารมวลชนชื่อดัง ก็โพสต์เกี่ยวกับคำศัพท์นี้ว่า “ศัพท์ร้อน ๆ วันละคำ วันนี้จาก ‘เศรษฐา’ ขึ้นปก Time: Shortchange: ฉ้อโกง, แกล้งทอนผิด, ทอนขาด!

หรือ จอห์น วิญญู พิธีกรดัง ที่แสดงความคิดเห็นถึงคำนี้ว่า “ประเทศที่รู้สึกถูกโกงการเลือกตั้ง” ว๊ายยยยยยยยยย

แต่ก็มีอีกฝ่ายที่ออกมาโต้ว่า การแปลคำว่า shortchanged ในคำโปรยนี้ จะแปลโดดๆ ไม่ได้ อย่างเช่น หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ คุณปลื้ม พิธีกรข่าวช่อง Voice TV และอดีตผู้สื่อข่าวต่างประเทศ NBT อธิบายคำว่า "Shortchanged" ของพาดหัว Time ฉบับหน้าปก นายกฯ เศรษฐา ไว้ว่า

ในบริบทนี้ ไม่ได้หมายความว่า “โกง หรือ ถูกโกง" แต่เป็นการอธิบายแทนคนไทยในการเลือกตั้ง ปี 66 ที่เลือกก้าวไกล มาเป็นที่ 1 เพื่อไทยมาเป็นที่ 2 และหวังว่า เพื่อไทย และก้าวไกล ซึ่งเป็นฝ่ายประชาธิปไตย จะจับมือกันตั้งรัฐบาล แต่สุดท้ายไม่ได้อยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นเพียงลีลาการเขียนโปรยข่าวในแนวจิกกัดเล็กน้อย และไม่ได้ตำหนิพรรคเพื่อไทย

และการแปลของสำนักข่าว Voice TV ก็แปลประโยคนี้แบบเต็มๆว่า "นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย กับความพยายามเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ที่ประชาชนยังรู้สึกว่าไม่ได้อะไรเพียงพอจากการเลือกตั้ง"

ส่วนคุณแขก คำผกา พิธีกรดัง ก็แปลประโยคนี้ว่า “นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศไทยพยายามกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างหนักเพื่อทด(แทน) ความรู้สึกผิดหวังของประชาชนจากผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่เขาเป็นแคนดิเดตนายกฯจากพรรคที่ได้ที่นั่งสส. อันดับสอง”

ส่วนนายวรนัยน์ วาณิชกะ นักวิจารณ์การเมือง อดีตคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ , บรรณาธิการนิตยสาร GQ Thailand ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ข่าวภาษาอังกฤษ Thisrupt และอาจารย์พิเศษคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กล่าวถึงคำนี้ว่า “ถกเถียงกันเยอะว่า shortchanged แปลว่าอะไร นี่คือคำแปลจาก พจนานุกรม Britannica

Shortchanged คือ การได้รับในสัดส่วนที่น้อยกว่าสิ่งที่ควรจะได้รับหรือที่หวังไว้ ในบทความ ผู้เขียนกล่าวถึงระบบ สว.บวกกับการข้ามขั้วของเพื่อไทย ที่ทำให้ประชาชนที่หวังและควรได้รับชัยชนะของประชาธิปไตยนั้นถูก shortchanged ได้น้อยกว่าในสิ่งที่ตนต้องการ Shortchanged ไม่ได้หมายถึงตัวบุคคลของนายก แต่คือระบบส.ว. + ข้ามขั้ว + การสะกัดกั้นก้าวไกล

“Shortchanged by his election” บนหน้าปก หมายถึงการเลือกคุณเศรษฐามานั้น เท่ากับชาวไทยได้ผู้นำมาในสัดส่วนที่น้อยกว่าสิ่งที่หวังไว้และควรได้รับ”

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน