1 คนสงสัย
ผลิตภัณฑ์ สารสกัดกระชายขาวผสมพลูคาว โฆษณาสรรพคุณไม่ตรงใบอนุญาตเลข อย. อ้าง เสริมภูมิต้านโควิด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดกระชายขาวผสมพลูคาว โฆษณาชวนเชื่อว่ามีสรรพคุณ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด-19 ทางเว็บไซต์ Anti-Fake News Center Thailand ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น ไม่เป็นความจริง การยื่นขอใบอนุญาตของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการเสริมภูมิคุ้มกัน และต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามที่กล่าวอ้าง จึงไม่สามารถประเมินประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค จึงขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อการโฆษณาของผลิตภัณฑ์นี้ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพ
std47655
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ข่าวบิดเบือน แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์
    ข่าวบิดเบือน แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ . ตามที่มีการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน . กรณีการโพสต์ให้ข้อมูลโดยระบุว่าพบกรดเบนโซอิกในก๋วยเตี๋ยวประเภทต่างๆ โดยแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากที่มีการแชร์ข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเมื่อปี 2550 ซึ่งสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านการตรวจวิเคราะห์อาหารของประเทศ ได้มีการตรวจวิเคราะห์เฝ้าระวังการใช้วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค) ในอาหารประเภทเส้นมาอย่างต่อเนื่อง . นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งการผลิตอาหารประเภทเส้น บางชนิดมีการใช้วัตถุกันเสีย เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต หรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้อาหารเน่าเสีย หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกรดเบนโซอิกทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย แต่หากได้รับในปริมาณน้อยร่างกายสามารถขับออกไปได้ ซึ่งข้อมูลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตรและองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ (The joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives, JECFA) ได้ประเมินและกำหนดค่าความปลอดภัย (ADI) พบว่า มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์น้อย . อย่างไรก็ตามวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดมีข้อกำหนดการใช้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) สำหรับกรดเบนโซอิกให้ใช้ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในอาหารประเภทเส้นที่ผ่านกระบวนการต้ม การนึ่ง การปรุงให้สุกการพรีเจลาทิไนซ์ (Pre-gelatinized) หรือแช่เยือกแข็ง และเส้นแบบกึ่งสำเร็จรูป ส่วนกรดซอร์บิกให้ใช้ได้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เฉพาะอาหารประเภทเส้นแบบกึ่งสำเร็จรูป . เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเส้นที่ทำจากแป้งอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาผู้ผลิตให้มีความรู้ความเข้าใจการใช้วัตถุกันเสียอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ซึ่งผู้ผลิตจะต้องควบคุมกระบวนการผลิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน GMP สำหรับผู้บริโภคควรเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ สะอาด ถูกสุขอนามัย และไม่ควรรับประทานอาหารซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ . ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www3.dmsc.moph.go.th หรือโทร. 02 9510000 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลที่มีการบอกต่อดังกล่าวเป็นข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์เมื่อปี 2550 แต่ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ประเภทเส้นที่ทำจากแป้งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน GMP . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . Website : https://www.antifakenewscenter.com/
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สเปรย์พ่นปากฟ้าทะลายโจร ตราวี เฟรช สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้
    ผลิตภัณฑ์วี เฟรช เม้าท์ สเปรย์ โฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ว่า สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้นั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์วี เฟรช เม้าท์ สเปรย์ V FRESH MOUTH SPRAY ผลิตโดย บ. บิวตี้ คอสเมต จก. จดแจ้งไว้ว่าเป็นเครื่องสำอาง ประเภทสเปรย์ระงับกลิ่นปาก ใบรับจดแจ้งเลขที่ 65-1-6400022581 ผลิตภัณฑ์นี้เป็นเครื่องสำอาง ใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ไม่มีผลในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอดได้ หากผู้บริโภคหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้ เพื่อหวังผลในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ลงปอด อาจเสียโอกาสในการรักษา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง
    std47859
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย.เตือนอย่าซื้อผลิตภัณฑ์อ้างลดอ้วน ‘De2xy และ Me2shape’ เสี่ยงอันตราย
    อย.เตือนสาวอยากผอมระวัง อย่าซื้อผลิตภัณฑ์อวดอ้างลดอ้วน De2xy และ Me2shape พบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ขออนุญาตกับ อย. แถมโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เสี่ยงได้รับอันตรายถึงชีวิต นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ “De2xy และ Me2Shape” ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นั้น อย.ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบการโฆษณาสรรพคุณอ้างลดน้ำหนักทางเฟซบุ๊กชื่อ Sunisa Lv’tl แสดงข้อความในทำนองช่วยควบคุมน้ำหนัก เปลี่ยนหุ่นเสีย เป็นหุ่นสวย เพราะมีตัวช่วยหุ่นดีที่ไม่ต้องอด ก็ลดได้ เพียงแค่วันละ 1 - 2 แคปซูล ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตและโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้โฆษณาแล้ว นอกจากนี้ จากการสืบค้นข้อมูลในระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารในชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาต้นตอแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ต่อไป รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า ขอเตือนภัยสาวอยากผอมพึงระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อคารมการโฆษณาเกินจริงจากผู้ขายโดยเด็ดขาด นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกรณีเป็นยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ลดความอยากอาหาร เป็นยาที่กระตุ้นประสาทส่วนกลางการใช้จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ขณะรับประทานยา แต่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดยา หรือที่เรียกว่า yo-yo effect และผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่พบบ่อย คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ตาพร่า ดังนั้น การใช้ยาเพื่อลดความอ้วน ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น อย่าซื้อยามารับประทานเอง ส่วนกรณีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง มักตรวจพบว่ามีการผสมยาหรือสารอันตราย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พร้อมเตือนผู้ขายอย่าโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอวดอ้างลดความอ้วนผ่านสื่อทุกช่องทาง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีทันที ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
    std47993
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน "จัสมี" อย. ชี้ โฆษณาเกินจริง พร้อมถอดเลข อย. ออกแล้ว
    พบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จัสมี ทางผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “เจ้สวย” โฆษณาโดยระบุสรรพคุณ “... สูตรเด็ด ๒ ตัวยา “บล็อค” เน้นๆ ดักจับแป้ง,น้ำตาล... “เบิร์น” รัว ๆ กระชับสัดส่วน...บวมออกแขนขาท้าเลย... “พุงยุบ” เร่งเผาผลาญ ไม่ต้องอดก็ลดได้... บอกลา หุ่นพังๆ” และระบุเลข อย. 10-1-20960-5-0120 ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากการโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. เมื่อตรวจสอบสถานะการอนุญาต พบว่าผลิตภัณฑ์เลขสารบบอาหาร 10-1-20960-5-0120 ได้ถูกยกเลิกแล้ว เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาทางออนไลน์ทั้งหมด และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดแล้ว จึงขอเตือนภัยผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณลดความอ้วน วิธีการลดน้ำหนักที่ดีที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและควบคุมอาหาร ไม่กินอาหารพร่ำเพรื่อ ควรกินอาหารที่หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม ลดการกินอาหาร หวาน มัน เค็ม รวมทั้งควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ อย. ไม่เคยอนุญาตให้ผลิตภัณฑ์อาหารโฆษณาไปในทางลดน้ำหนัก หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือตรวจสอบเลขผลิตภัณฑ์ผ่านทาง Oryor Smart Application หรือเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th
    std47993
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย.เตือน “Royal Jelly 2180” อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง-นำเข้าผิดกฎหมาย
    นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Royal Jelly 2180 (นมผึ้ง) ทางเว็บไซต์ชื่อ http://www.auswelllife-awl.com/ อย. จึงได้ดำเนินการตรวจสอบโฆษณาดังกล่าว พบข้อความโอ้อวดสรรพคุณ เช่น ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง และอื่นๆ ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. และเป็นการโฆษณาหลอกลวงโอ้อวดเกินจริง โดยจากการสืบค้นข้อมูลในระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร หรือผลิตภัณฑ์ยาในชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด รวมทั้งผลิตภัณฑ์มีการแสดงฉลากเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการนำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลียโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมกันนี้ อย. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ณ สถานที่นำเข้า และสถานที่จำหน่าย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าสถานที่ดังกล่าวมีลักษณะรกร้าง ไม่แสดงป้ายเลขที่บ้าน ทั้งนี้ อย. อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐานเพื่อประกอบการดำเนินคดีลงโทษตามกฎหมายอย่างเข้มงวด ทั้งในเรื่องการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์และการขายผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมไปถึงได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาตัวผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ต่อไปด้วย แชร์เรื่องนี้ คัดลอกลิงก์ แท็ก : อาหารเสริมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดูแท็กทั้งหมด INN News สนับสนุนเนื้อหา ความคิดเห็น 0 รายการ แสดงความคิดเห็น เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น! ( อ่านทั้งหมด ) Sanook Y-VOTE โหวตยกด้อม หัวใจ(ชาว)วาย
    std48089
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย. เตือน ผลิตภัณฑ์ Efferin โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงกับข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จ
    พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ Efferin (เอฟเฟอร์ริน) ทางสื่อออนไลน์ โดยระบุสรรพคุณ “กระตุ้นการเผาผลาญได้อย่างดีเยี่ยม...ส่งเสริมการกำจัดไขมันขั้นสุด...กระตุ้นเนื้อเยื่อไขมันสีน้ำตาล... ช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ช่วยสลายและใช้งานไขมัน กำจัดไขมันส่วนเกินจากกระแสเลือด ทำให้เนื้อเยื่อไขมันลดลง... มีประสิทธิภาพในการต้านภาวะซึมเศร้า… ช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้น” เป็นต้น ทั้งยังมีการสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับแพทย์หญิงชื่อดังชาวไทยถูกไล่ออกจากประเทศชั้นนำ เนื่องจากปฏิเสธที่จะขายผลิตภัณฑ์เผาผลาญไขมันสูตรพิเศษให้แก่บริษัทยาในประเทศนั้น จึงได้กลับประเทศไทยและร่วมกับผู้ทรงอิทธิพลผลิตผลิตภัณฑ์เอฟเฟอร์รินขายเฉพาะในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า เป็นข้อมูลลวง โดยผลิตภัณฑ์ Efferin ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอฟเฟอร์ริน / Efferin Dietary Supplement Product เลขสารบบอาหาร 10-1-03958-5-0272 โฆษณาดังกล่าวแสดงข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จ และแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด อีกทั้งผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค นอกจากนี้ยังพบมีการแอบอ้างชื่อบุคลากรทางการแพทย์ในตำแหน่ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อมไร้ท่อเป็นผู้คิดค้นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานและนักโภชนาการเป็นผู้รับรองผลิตภัณฑ์แต่แท้จริงแล้วนั้น ไม่มีตำแหน่งดังกล่าวตามที่กล่าวอ้าง และภาพหญิง-ชายที่อ้างว่าเป็นผู้คิดค้นและรับรองผลิตภัณฑ์นั้น เป็นภาพหญิง-ชายที่เผยแพร่ทั่วไปอยู่บนอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว ฉะนั้นผู้บริโภคโปรดระมัดระวังอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือสร้างเรื่องราวดึงดูดความสนใจที่เป็นไปไม่ได้ หากมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวควรปรับพฤติกรรมการบริโภค ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่ควรหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาโอ้อวดเกินจริงทางสื่อออนไลน์ เพราะอาจมีสารที่เป็นอันตราย มีผลข้างเคียงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากผู้บริโภคพบเห็นเบาะแสการโฆษณา การผลิต / จำหน่ายผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556 หรือ Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
    std47993
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโกโก้ ซอยโปรตีน เพิ่มสูง ไม่ต้องพึ่งหมอ
    ตามที่มีการเผยแพร่สรรพคุณในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโกโก้ ซอยโปรตีน เพิ่มสูง ไม่ต้องพึ่งหมอ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ ตามที่มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโกโก้ ซอยโปรตีน เพิ่มสูง ไม่ต้องพึ่งหมอ ตามสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ นั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ แคลเซียมโกโก้ ซอยโปรตีน
    std48864
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย. ยกเลิก เลขสารบบอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อะโทมี่ ฮงซัมตัน โคเรียน เรด จินเซ็ง สเบียรเคิล แกรนูล (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผงโสมและสารสกัดโสม)
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เพิกถอนเลขสารบบอาหารของ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อะโทมี่ ฮงซัมตัน โคเรียน เรด จินเซ็ง สเบียรเคิล แกรนูล (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผงโสมและสารสกัดโสม) ในช่วงปี พ.ศ.2562 ข้อมูลนี้ส่งถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชน มีรายละเอียด ดังนี้ ชื่ออาหารบนฉลาก: อะโทมี่ ฮงซัมดัน โคเรียน เรด จินเซ็ง สเปียรเคิล แกรนูล ( ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผงโสมและสารสกัดโสม) กรณีความผิด/สาเหตุที่ต้องยกเลิก: โฆษณาแสดงสรรพคุณ คุณประโยชน์ของอาหาร โดยยังไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. และทำให้ประชาชนหลงเชื่อได้ว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามารถรักษาโรคได้ เข้าข่ายอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวง ข้อมูลสถานประกอบการ: บริษัท อะโทมี่ จำกัด (กรุงเทพมหานคร) (ใบอนุญาตที่ 10-3-06260) ที่ตั้งสถานประกอบการ: บ้านเลขที่ 1550 อาคารธนภูมิ ชั้น 23/บี 1 ซอย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10400 เลขสารบบอาหารที่ถูกยกเลิก: 10-3-06260-5-0011 คำสั่งยกเลิก เลขสารบบอาหาร/ลงวันที่: คำสั่ง อย. ที่ 243/2562 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2562อ้างอิงจากเอกสารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา: https://drive.google.com/open?id=1dZAqXAtvIHw1UPBlLaol19JLC2balkgT
    naruemonjoy
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ผลิตภัณฑ์ โคโคการ์ลิก ช่วยลดความเสี่ยงโรคเส้นโลหิตในสมองแตกได้
    โคโคการ์ลิก (น้ำมันมะพร้าวผสมน้ำมันกระเทียม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดแคปซูล) / Cocogarlic (coconut oil mixed with garlic oil capsule dietary supplement product) อย. 19-1-15653-5-0072 ระบุสรรพคุณในการจำหน่ายว่า ช่วยลดความเสี่ยงโรคเส้นโลหิตในสมองแตก
    naydoitall
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เบอร์รี่ เอ-ซี-อี ทำให้สายตาดีขึ้นภายใน 3 สัปดาห์ จริงหรือคะ
    มีการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ช่วยฟื้นฟูการมองเห็นทำให้สายตาดีขึ้น สรรพคุณว่าช่วยให้สายตาดีขึ้นโดยใช้เวลา 3 อาทิตย์ สามารถฟื้นฟูสายตาโดยไม่ต้องทำเลสิคโดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการคิดค้นโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมไปถึงมีการแอบอ้างจักษุแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญให้การรับรองผลิตภัณฑ์ จริงหรือคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false